วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เเนะปรับตัวรับประชาคมอาเซียน 2558

พม่าเตรียมสร้างสนามบินนานาชาติย่างกุ้งแห่งที่ 2 ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

ตาม รายงานข่าวเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่ากำลังมีโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ขึ้นในเมืองย่างกุ้ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตามรายงาน ของกระทรวงการท่องเที่ยวเปิดเผยว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปประเทศในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้ง นี้กรมการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กระทรวงการคมนาคมแห่งประเทศพม่า ได้มีการออกมาชี้แจงว่า ในเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการคมนาคมทางอากาศ โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนสนามบินนานาชาติเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ซึ่งสถานที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ เมืองย่างกุ้ง
มี รายงานว่า พื้นที่โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ จะถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ขึ้น-ลงเครื่องบินรบของทหารญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านทำเลที่ตั้งและอยู่ใกล้กับ เมืองสำคัญหลายแห่ง
นอก จากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่ากำลังมองหาผู้เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เป็นโครงการระยะยาว เพราะนอกจากโครงการสร้างสนามบินแห่งใหม่แล้ว ยังมีโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบต่าง ๆ ภายในสนามบินอีกหลายแห่งในประเทศ เนื่องจากขณะนี้เริ่มทรุดโทรมและไม่มีความทันสมัย

กรมอาเซียนมั่นใจไทยพร้อมรับ AEC 2558​

 
กรมอาเซียนเผยไทยเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอา เซียนแล้วร้อยละ70 ยอมรับช้ากว่าประเทศอื่น แต่มั่นใจว่าไทยเตรียมตัวได้ทันก่อนปี 2558 
ในการเสวนาประชาคมอาเซียน 2015: ภาพในมายาคติกับความเป็นจริง นางบุษฎี สันติพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ได้มากกว่าร้อยละ70 แล้ว และเชื่อมั่นว่าไทยจะเข้าสู่ AEC ได้ทันแน่นอน เนื่องจากไทยมีศักยภาพด้านทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีความได้เปรียบด้านพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีโครงสร้างแผนแม่บทของประเทศที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้ยอมรับว่า แม้ไทยจะเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC ได้ล่าช้ากว่าประเทศอื่น แต่มีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง 
รองศาสตราจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวเสวนาในหัวข้อ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก" ว่า ประเทศพม่าในช่วงหลัง มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญ ใน3ประเด็นหลัก ได้แก่ รัฐบาลพม่าให้ความสำคัญกับความมั่นคงเศรษฐกิจมากขึ้น เทียบเท่ากับปัจจัยความมั่นคงทางทหารและการเมือง รองลงมาคือ การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพม่าที่มีการเลือกฝักฝ่าย และปัญหาที่มาของอำนาจรัฐ เนื่องจากพม่าปกครองแบบเผด็จการมากว่า 50 ปี แม้จะเปิดประเทศแล้ว แต่ทหารยังครองอำนาจอยู่ ดังนั้นแม้ประเทศพม่าจะเปิดโอกาสให้นานาชาติเข้าประเทศมากขึ้น  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการลงทุน แต่พม่ายังต้องมีการปรับโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมอีก 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ นุชเปี่ยม ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยเชี่ยวชาญด้านแม่โขงศึกษา กล่าวว่า เวียดนามเคยเป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เวียดนามประสบปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและค่าเงินด่องที่อ่อนตัวลง ทำให้หลายประเทศเกิดความลังเลที่จะเข้ามาลงทุน  ดังนั้นการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ถือเป็นโอกาสที่เวียดนามจะดึงดูดนักลงทุนให้กลับสู่ภาวะปกติ ภายใต้ความเสี่ยงด้านระบบการเมืองในประเทศที่ยังใช้ระบบสั่งการอยู่  
ด้านนางวัชรินทร์ ยงศิริ นักวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวว่า ประเทศกัมพูชา มีปัญหาภายในประเทศ เช่น รัฐบาลที่บริหารโดยพรรคประชาชนกัมพูชา หรือ CPP มีความเข้มแข็ง เนื่องจากครองเสียงข้างมากในสภามากกว่าร้อยละ90 ทำให้กัมพูชามีแนวโน้มเป็นเผด็จการในรัฐสภา นอกจากนี้ยังออกกฎหมายอาญาฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ ในเดือนธันวาคม 2553 ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น หากประชาชนจะเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลต้องดำเนินการในพื้นที่ที่จัดไว้ให้เท่า นั้น ดังนั้นกัมพูชา ยังคงมีปัญหาภายในโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กัมพูชาอาจไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ขอบคุณ : Vilasinee

สรรพสามิตตื่นตัวเก็บเพิ่มภาษีเหล้า รับ AEC

กรมสรรพสามิตตื่นตัวรับเออีซี เล็งชงคลังไฟเขียวออก พ.ร.ก. เก็บภาษีจากราคาขายปลีก จากปัจจุบันเก็บจากราคาหน้าโรงงาน ระบุไม่เร่งแก้ไข ประเทศจะเสียหาย-รายได้ภาษีวูบ
           
            นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพสามิตได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 4 คณะ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58  ประกอบด้วย 1. คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ 2. คณะทำงานพิจารณาเรื่องของกระบวนการด้านกฎหมาย ว่าต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรหรือไม่ 3. คณะทำงานด้านพัฒนาบุคลากร และ 4. คณะทำงานพิจารณาด้านโครงสร้างองค์กร

            ทั้งนี้ จากการประเมินพบว่า เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 การเก็บภาษีสรรพสามิตจากราคาหน้าโรงงานจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจาก ปกติถ้าเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีการคิดราคาซีไอเอฟ บวกกับค่าอากรของกรมศุลกากร นั้นจากก็เอามาคำนวณรวมเพื่อคิดเป็นอัตราภาษีสรรพสามิต แต่เมื่อเปิดเสรีฯ อาเซียน ภาษีจากสินค้านำเข้าจะเป็น 0% ในทันที ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้กรมสรพสามิตเกิดปัญหาจากการจัดเก็บภาษี เพราะเม็ดเงินจากภาษีดังกล่าวก็จะหายไป และฐานการจัดเก็บของกรมฯ ก็จะเล็กลง

            อย่างไรก็ตาม ได้มีการหารือร่วมกันภายในกรมสรรพสามิต และได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า กรมสรรพสามิตอาจจะขอจัดเก็บภาษีบางส่วนเอง รวมถึงพิจารณาด้วยว่าอัตราภาษี 0% ควรจะเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ ในเบื้องต้นเห็นว่าควรจะปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากราคาหน้าโรงงาน เป็นจัดเก็บจากราคาขายปลีกทั้งหมด จะเป็นการดีที่สุด ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลและศึกษารายละเอียดต่างๆ

            นางเบญจา กล่าวต่อว่า ทางกรมสรรพสามิตจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลังได้พิจารณา รวมถึงนำเสนอแนวทางการดำเนินงานรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากเปิดเสรีประชาคมฯ ด้วย คือ กรมสรรพสามิต ก็จะออกเป็น พ.ร.ก. เพื่อปรับแก้ไขเฉพาะบางจุดด้านราคา ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าหากจะรอแก้ไขกฎหมายทั้งหมด

            ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตเห็นว่า หากไม่มีการดำเนินการออก พ.ร.ก.เพื่อปรับแก้ไขการจัดเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงาน เป็นราคาขายปลีก เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 ประเทศก็จะเกิดความเสียหายตามมา รายได้การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตก็จะหาย อีกทั้งหากไม่ดำเนินการ ปัญหาซีไอเอฟก็จะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อไป

             “กรมฯ จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเกี่ยวกับการออกกฎหมายเพื่อปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากราคาหน้าโรงงาน เป็นราคาขายปลีก ซึ่งถ้าเราไม่ทำประเทศก็จะได้รับความเสียหาย เมื่อมีการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 รายได้ภาษีของกรมฯ ก็จะหายไป เพราะภาษีนำเข้าเป็น 0%” นางเบญจา กล่าว

ไปรษณีย์ไทย ดันสินค้าโอทอปรับ ”เออีซี”

ไปรษณีย์” พร้อมรับศึกเออีซี ลุยเต็มสูบธุรกิจโลจิสติกส์-อีคอมเมิร์ซ เน้นสนองนโยบายรัฐ ปั้นที่ทำการไปรษณีย์ช่วยเหลือชาวสวนกระจายผลิตผลและสินค้าโอทอป

นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) นั้น นับเป็นโอกาสที่ดีของไปรษณีย์ที่จะนำศักยภาพด้านการให้บริการมาพัฒนาและเพิ่มความแข็งแกร่งให้องค์กร โดยไปรษณีย์ได้เตรียมความพร้อมไว้รองรับในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านธุรกิจโลจิสติกส์ ในเบื้องต้นได้มีการเจรจาขยายความร่วมมือไปยังการไปรษณีย์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อร่วมมือกันขนส่งและกระจายสินค้าระหว่างกัน

ปรับโฉมที่ทำการไปรษณีย์สู่ไฮเทค

อีกทั้งอาจขยายความร่วมมือไปยังญี่ปุ่น จีน เกาหลีด้วย เพื่อความแข็งแกร่งของไปรษณีย์ไทย และยังได้จ้างการไปรษณีย์ฝรั่งเศสเป็นที่ปรึกษาในการศึกษาลู่ทางการร่วมลงทุนกันพันธมิตรต่างๆ รวมถึงการวางแผนแนวทางการพัฒนาธุรกิจไปรษณีย์ไทยเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เพราะเชื่อว่าภาคบริการจะมีการแข่งขันสูงเมื่อมีการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ

นอกจากนี้ ยังจะขยายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (e-Commerce) ให้มากยิ่งขึ้น เพราะธุรกิจผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคในวงกว้าง เนื่องจากสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนั้น กลุ่มธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งของไปรษณีย์ไทย
ขณะเดียวกันจะพัฒนาที่ทำการไปรษณีย์ไทยให้มีบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อบริการประชาชนด้วยสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึง โดยไปรษณีย์จะเดินหน้าให้ที่ทำการไปรษณีย์กว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศมีบริการไวไฟให้บริการด้วยเช่นกัน

“สิ่งสำคัญของไปรษณีย์ไทยขณะนี้คือการปรับระบบไอทีทั้งหมดให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพ เพราะระบบไอทีถือเป็นหัวใจสำคัญเช่นกันที่จะเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ, โลจิสติกส์, การเชื่อมโยงกับไปรษณีย์เพื่อนบ้าน แต่ปัจจุบันระบบไอทียังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น บอร์ดและฝ่ายบริหารจะต้องเร่งปรับปรุงให้ดีมีประสิทธิภาพ”

ปรับบทบาทกระจายสินค้าโอทอป

นอกจากนี้ ไปรษณีย์จะช่วยกระจายสินค้าเกษตร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญมากเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและช่วยลดพ่อค้าคนกลางในการกดราคาสินค้า โดยในส่วนของไปรษณีย์ก็จะช่วยจำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาลต่างๆ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง เป็นต้น หรือเมนูอาหารอร่อยทั่วไทยสั่งได้ที่ไปรษณีย์ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น อีกทั้งจะช่วยขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) อีกทางหนึ่งด้วย

นายเอนกกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากว่ามีการส่งจดหมายผิดบ้าน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการชำระหนี้ โดยเฉพาะเรื่องบัตรเครดิต ซึ่งบอร์ดได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารไปเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยยอมรับว่าสาเหตุหนึ่งที่การส่งจดหมายผิดบ้านหรือไม่ตรงตามที่อยู่นั้น เป็นเพราะมีการจ้างพนักงานรายวันช่วยส่งจดหมาย เนื่องจากบุรุษ ไปรษณีย์ไทยส่วนใหญ่อายุมากใกล้เกษียณอายุ

“วิธีการที่จะแก้ไขปัญหานั้น ได้เสนอแนะการฝึกบุคลากรให้มีจิตสำนึกในการส่งจดหมายให้เหมือนบุรุษไปรษณีย์รุ่นก่อนๆ ขณะที่โรงเรียนการไปรษณีย์ก็จะขยายสาขาการเรียนด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายบริการของไปรษณีย์ จากปัจจุบัน เด็กที่เรียนจบจากโรงเรียนไปรษณีย์ มุ่งเน้นการทำงานในที่ทำการไปรษณีย์เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ต้องกำหนดหลักสูตรให้หลากหลายสอดคล้องกับภารกิจของไปรษณีย์ไทย

กลไกหลักปล่อยสินเชื่อชุมชน

สำหรับบริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย จำกัดนั้น ปล่อยสินเชื่อให้ชุมชนรากหญ้าที่เข้าไปไม่ถึงแหล่งทุนนั้น ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบให้ยุติการดำเนินการดังกล่าว และทำเรื่องเสนอไปยังกระทรวงการคลังเพื่อขอยกเลิก เนื่องจากเห็นว่ามีความซ้ำซ้อนกับธนาคารที่ได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้กับรากหญ้าไปแล้ว ขณะเดียวกัน ขอเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งบริษัทโลจิสติกส์ ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อเดินหน้าธุรกิจโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า น่าจะมีความชัดเจน

สำหรับการจัดตั้งบริษัท โลจิสติกส์ ไปรษณีย์ไทย น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไปรษณีย์ไทย กล่าวว่า ในปี 2555 ได้กำหนดเป้าหมายว่าจะมีรายได้รวม 17,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 850 ล้านบาท โดยเป็นการพัฒนาการให้บริการและเจาะตลาดทุกรูปแบบเพื่อสร้างรายได้ ขณะเดียวกันก็ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่สร้างมูลค่า ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินรวม 18,500 ล้านบาท มีที่ทำการไปรษณีย์ 1,300 แห่งทั่วประเทศ มีพนักงานทั้งหมด 22,000 คน

ทั้งนี้ ไปรษณีย์ได้ฝึกให้พนักงานทุกคนแสดงศักยภาพในการทำงานให้มากที่สุด เพราะถือเป็นบุคลากรที่คุณภาพที่จะช่วยสร้างรายได้และทำให้องค์กรแข็งแกร่ง และพร้อมที่จะแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรี โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และการร่วมเป็นพันธมิตรกับการไปรษณีย์ต่างประเทศ.



วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เอกชนจีนเล็งกว้านซื้อที่สองแควรับเออีซี


นายสัญชัย ฐิติปุญญา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พิษณุโลก กล่าวถึงการเชิญนายวิชัย วิทยฐานกรณ์ คณะอนุกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ยูนนานและจีนตอนใต้ มาให้ความรู้กับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ จ.พิษณุโลก เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อต้องการกระตุ้นเตือนผู้ประกอบการนักธุรกิจ และสถานศึกษาเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) ว่าเราจะเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งขายเพื่อรับผลประโยชน์ การเตรียมตัวเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันโดยเฉพาะประเทศจีน จะมีการผลักดันคนเป็นล้านคนให้ออกมากว้านซื้อที่ดินในประเทศไทยหลายจุดโดยเฉพาะ จ.พิษณุโลก โดยอาจมาซื้อในรูปของเอกชนนักลงทุนจากจีน หรือเป็นนอมินี ซื้อที่ดิน เพื่อรับผลประโยชน์ตั้งธุรกิจในประเทศไทยแล้ว จึงต้องการให้เวทีการหารือครั้งนี้สะท้อนปัญหาให้ภาครัฐช่วยหามาตรการป้องกันก่อนที่ดินจะอยู่ในมือของชาวต่างชาติ นอกจากนี้ เรื่องวัตถุดิบ อย่างสมุนไพรไทย ควรมีการอนุรักษ์เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าไทยในอนาคต สิ่งที่น่าเป็นห่วง นอกจากปริมาณคนจากหลากหลายประเทศจะเข้ามาได้อย่างเสรีแล้วสินค้ามากมายราคาถูกกว่าของไทย
นายวิชัยกล่าวว่า ด้วยจำนวนประชากรจีนที่มีมากกว่า 1.3 พันล้านคน พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลก มีสภาพการแข่งขันที่สูง มีการใช้เงินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อธุรกิจและผลประโยชน์ จึงน่าวิตกว่าคนไทยไม่เตรียมตัวทำอะไรในอนาคตหรือยัง ไม่เช่นนั้นเราจะเป็นเพียงลูกจ้างในการผลิตแต่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจเลย

เออีซี กระทรวงการคลังเร่งขยายด่านชายเเดน


กระทรวงการคลังเร่งพัฒนาปรับปรุงด่านชายแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะด่านสะเดา จ.สงขลา ที่มีมูลค่าการส่งออกและนำเข้ากว่า 300,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตรวจการปฏิบัติงานด่านศุลกากรสะเดา เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ รองรับการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยในแต่ละปีด่านสะเดามีมูลค่าการนำเข้า -ส่งออก ประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือ 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมด
สำหรับการพัฒนา ในระยะสั้นจะเร่งเพิ่มจุดตรวจเอกสารนักท่องเที่ยว ขยายถนนและสร้างมอเตอร์เวย์ เพื่อลดการจราจรที่ติดขัด ขณะที่ระยะต่อไปจะก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
นอกจากนี้นายกิตติรัตน์ยังได้ติดตามโครงการด่านศุลกากรบ้านประกอบ จังหวัดสงขลา ส่วนขยายระยะที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ทั้ง 9 จุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการค้าการลงทุน ก่อนที่ไทยจะเข้าสู่การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า
รองนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่าการดำเนินงานยังมีปัญหาความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง และค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการเวนคืนที่ดิน ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านบางส่วนไม่ยอมเจรจา บางส่วนยังติดปัญหาด้านกฎหมาย และการปฏิบัติตามระบบราชการเดิม จึงต้องเร่งทำความเข้าใจให้ทุกส่วนราชการบูรณากาทำงานร่วมกัน โดยจะเร่งหารือกับกระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ และย้ำว่าการดำเนินการต่าง ๆ จะให้มีความเป็นธรรม

รับ AEC นักลงทุนไทย-มาเลเซีย เล็งตลาดอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ที่อยู่ศูนย์กลางของอาเซียน จึงเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดใจนักลงทุนชาวต่างประเทศเข้ามาหาโอกาสในการทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสใหม่ๆ ในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุดกลุ่มนักลงทุนชาวมาเลเซีย ให้ความสนใจเข้ามาจับมือกับนักลงทุนชาวไทย เพื่อลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
          นายทนงศักดิ์ หุตานุวัตร ประธานบริษัท เออีซี พร๊อตเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด เปิดเผยว่า “โชว์ ดีซี คอร์ป เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนชาวไทยและชาวมาเลเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาค โชว์ ดีซี คอร์ป มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน โดยโครงการแรกที่เริ่มในประเทศไทย คือ โครงการ SHOW DC ซึ่งเป็นศูนย์การกระจายสินค้ารูปแบบใหม่ ครบวงจรธุรกิจ ใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดที่จะตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์และความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันและระบบเศรษฐกิจเสรี ในปี 2558”
          นายสมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล ผู้ก่อตั้งบริษัท ธิงค์เวิร์ค จำกัด และกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีก ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ SHOW DC ว่า “เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นับเป็นความท้าทายและเป็นโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ สื่อดิจิตอล อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะเป็นเกมกลยุทธ์ที่ธุรกิจต่างๆ นำมาใช้เพื่อจัดการพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไป สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ไทย ที่จะขยายธุรกิจต่อไป จะได้เปรียบในการแข่งขัน ต่อเมื่อ มีการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ที่ดี เพราะจะช่วยให้ลดต้นทุนดำเนินการได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ “SHOW DC” เป็นศูนย์กระจายสินค้ารูปแบบใหม่แห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ศูนย์กระจายสินค้า รูปแบบใหม่ ครบวงจรทุกธุรกิจ ประกอบด้วย ศูนย์ค้าปลีก ศูนย์ค้าส่ง ศูนย์บริการ ศูนย์โชว์รูม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์โลจิสติคส์ คลังจัดเก็บและจัดส่งสินค้า รองรับทุกระดับการค้าขายในกลุ่มธุรกิจ แฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ไอที เครื่องเสียงเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และครัวกลางสำหรับธุรกิจอาหารและภัตตาคาร ที่พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้พื้นที่ตามจุดประสงค์ การดำเนินงานที่แตกต่างเฉพาะตัวได้ ช่วยบริหารต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน (value chain) ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการไทย พร้อมรับการเปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมั่นใจ”
          จุดเด่นของศูนย์กระจายสินค้า SHOW DC อยู่ที่ทำเลที่ตั้ง เพราะใกล้กับทางด่วนพระราม 9 และ RCA การจราจรสะดวก โครงสร้างอาคารมีการวางระบบต้านทานแรงแผ่นดินไหว ซึ่งออกแบบโดย Dr. H.K. Miyamoto จากสหรัฐอเมริกา อาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้ง Solar Farm รับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีระบบป้องกันอัคคีภัย และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ระบบการสื่อสารความเร็วสูงด้วยสายสัญญาณความเร็วสูงไฟเบอร์ออพติก (Fiber Optic) ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สนับสนุนการทำตลาดดิจิตอลทุกรูปแบบ มีที่จอดรถจำนวน 1,200 คัน (บริเวณชั้นใต้ดินและชั้น 1) รวมทั้งมีพื้นที่รองรับรถขนส่งสินค้าหลากหลายขนาด
          ภายในศูนย์กระจายสินค้า SHOW DC มีพื้นที่ร้านค้าตั้งแต่ 40 – 4,000ตารางเมตร เพื่อรองรับการประกอบกิจการครบวงจร เพื่อโอกาสการสร้างเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ อาทิเช่น เพื่อประกอบกิจการธุรกิจครบวงจร อาทิเช่น ศูนย์กระจายสินค้า ค้าปลีก ค้าส่ง โชว์รูม บริการซ่อมบำรุง ครัวกลางนิทรรศการแสดงสินค้า โลจิสติกส์ ห้องเย็น ศูนย์วิจัยและพัฒนา ทั้งยังประกอบด้วยพื้นที่ศูนย์อาหาร ศูนย์ประชุม ศูนย์ธุรกิจ และห้องประชุมสัมมนา
          “ผลจากการเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ (Soft launch) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่าน พบว่าศูนย์กระจายสินค้า SHOW DC ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการธุรกิจเกินความคาดหมาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ประกอบด้วยผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง ผู้ประกอบการร้านอาหาร ธุรกิจออนไลน์ ผู้ประกอบการที่ออกงานแสดงสินค้า และบริษัทที่ให้บริการด้านการขนส่ง เนื่องจากโครงการ SHOW DC สามารถรองรับการดำเนินงานของผู้เช่าใน 6 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ไอทีและการสื่อสาร สินค้าของตกแต่งบ้าน ธุรกิจทั่วไป ครัวกลาง (Central Kitchen) จึงมีความมั่นใจว่าจะมียอดขายเช่าพื้นที่ถึง 90% เพื่อเปิดโครงการ ต้นปี 2557” นายสมคิด กล่าวเสริม
          โครงการ SHOW DC ศูนย์กระจายสินค้ารูปแบบใหม่ ครบวงจรธุรกิจ ที่พัฒนาโดยบริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท และออกแบบโดย บริษัท คอนทัวร์ จำกัด จะเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายนปี 2555 คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ราคาเซ้งเริ่มต้นที่ 55,000 - 75,000 บาทต่อตารางเมตร สำหรับอายุสัญญา 28 ปี โดยมีค่าบริการรายเดือนเริ่มตั้งแต่ 50-150 บาทต่อตารางเมตร

"เต็ง เส่ง"เยือนไทยได้ประโยชน์ทาง ศก.- ห่วงเสียเปรียบ AEC


นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง เปิดเผยกรณี พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เดินทางเยือนประเทศไทย โดยมองว่า ประเทศพม่าถือเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เป็น 1 ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่น่าสนใจ โดยจะส่งผลให้มิติทางเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยง ทั้งสินค้า การลงทุน แรงงาน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคระหว่างไทยกับพม่า และขยายไปยังเพื่อนบ้านอื่นๆ
ทั้งนี้ นายสมชายกล่าวว่า การเยือนประเทศไทยของผู้นำพม่าครั้งนี้ มองว่าจะมีโอกาสเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่นิ่งนั้น มองว่าเรื่องของเสถียรภาพในแง่ของนโยบายต้องมี ไม่ว่ารัฐบาลใดบริหารบ้านเมือง และสิ่งแรกที่ต้องทำอยู่แล้วคือ การร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเออีซี ที่ตอนนี้มาถึงแล้ว และปี 2015 การแข่งขันจะแน่นขึ้น หากรัฐบาลไม่ทำประเทศอาจจะเสียเปรียบได้ ส่วนภาคเอกชนจะเป็นผู้สานต่อว่า จะเตรียมตัวรองรับการมาของเออีซีอย่างไร

กรอบระยะเวลาการเปิดเสรีสินค้าและบริการของประเทศสมาชิกอาเซียน


สำหรับการเป็น AEC ในส่วนของภาคการเงินนั้น กำหนดระยะเวลาไว้ภายในปี  2020  ซึ่งจะล่าช้ากว่าภาคการค้าอื่นๆ ประมาณ 5 ปี  ทำให้สถาบันการเงินในประเทศยังมีเวลาในการปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น  
แวดวงคนการเงิน  มองถึงการเปิดเสรีภาคการเงินที่แตกต่างกัน   โดยในส่วนของผู้ประกอบการ  หรือนายบัณฑูร  ล่ำซำ    ซีอีโอแบงก์กสิกร ไทย มองว่า ภาคการเงิน ได้เตรียมความพร้อมรับเออีซีแตกต่างกันไป แต่คงไม่ใช่การขยายสาขาที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย เพราะแต่ละธนาคารมีเงินทุนและบุคลากรที่จำกัด บางแห่งก็ขยายสาขาไปในต่างปะเทศแล้ว ขณะที่บางธนาคารเพิ่งเริ่มขยายสาขา  
ขณะที่บางคนมองว่า  ภาคการเงินไทยยังมีการปรับตัว เพื่อรองรับการเป็น AEC ที่ล่าช้า  เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังเน้นการทำธุรกิจภายในประเทศ โดยไม่สนใจที่จะขยายเครือข่ายหรือเจาะกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศ โดยต้องยอมรับว่าการเจาะกลุ่มลูกค้าของธนาคารต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย  คงไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก   จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์หรือ Connection อย่างแน่นแฟ้น ของธนาคารกับลูกค้าที่มีมานานหลายชั่วอายุคน 
ทั้งนี้ ความล่าช้าในการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศของภาคการเงินของไทย บริษัทหลักทรัพย์  ซีไอเอ็มบีไทย  วิเคราะห์ว่า อาจมาจากเรื่องเงินทุน เพราะธนาคารที่เข้าไปซื้อกิจการในธนาคารต่างๆนั้น  ส่วนใหญ่จะมีรัฐบาลเป็นผู้ซื้อหุ้น ทำให้มีเงินทุนมากเพียงพอในการขยายธุรกิจ  ขณะที่การเข้าถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลไทย จะเน้นแก้ปัญหาของธนาคารนั้นๆ มากกว่าการเข้าลงทุน  รวมทั้งระบบการจัดการและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญในการวางกลยุทธ์  หรือยุทธ์ศาสตร์การทำธุรกิจในอนาคต 
ซึ่งไม่ว่าภาคการเงินการธนาคารจะเปิดเสรีในปี 2015 หรือ 2020  แต่ผู้ประกอบการไทยก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมงัดกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการขยายุรกิจในต่างประเทศ เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เชียงแสนตื่นตัว รับ AEC

อ.เชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ตื่นตัววางกรอบอุตสาหกรรมท้องถิ่นเติบโตรับมือเปิดประชาคมอาเซียน ยก “หลวงพระบาง” เป็นแม่แบบด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สู่ความยั่งยืน นายประจวบ กันธิยะ นายอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย กล่าวว่า พื้นที่ อ.เชียงแสน ถือเป็นพื้นที่สำคัญด้านการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ที่เป็นชายแดนเชื่อมต่อกัน 3ประเทศระหว่างไทย พม่า และสปป.ลาว ดังนั้น ทางอำเภอพยายามเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อรับเปิดประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อ.เชียงแสน จะคึกคักอย่างยิ่ง จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มเป็นทวีคูณจากปัจจุบัน มีอัตราเฉลี่ยประมาณ 2แสนคนต่อปี รวมถึง จะมีกลุ่มผู้ประกอบการจากทั้งใน และต่างประเทศ มาลงทุนก่อสร้างโรงแรมที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้ การเปิดประชาคมอาเซียน แม้ข้อดีจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโตอย่างสูง ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่คนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ทางอำเภอเกรงว่าจะเป็นไปอย่างไร้ทิศทางจนควบคุมไม่ได้ กระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมในชุมชน ดังนั้น ได้มีการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักธุรกิจเอกชน ภาคราชการ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ชาวเชียงแสนได้มีบทบาทในการวางกรอบการท่องเที่ยวของท้อง ถิ่นตัวเอง สำหรับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของอำเภอเชียงแสนจะมุ่งเป็นเชิงอนุรักษ์ โดยมี “หลวงพระบาง” ของ สปป.ลาว เป็นต้นแบบที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จนได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก นอกจากนั้น ทางอำเภอได้เตรียมรับพร้อมเปิดประชาคมอาเซียนในหลายด้าน เช่น จัดตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอำเภอเชียงแสน กำหนดจุดผ่านแดนให้เหลือด่านเดียว จากปัจจุบันมี 11 จุด ป้องกันปัญหาลักลอบขนยาเสพติด รวมถึง มีโครงการอาสาสมัครชุมชน คอยเป็นหูเป็นตาให้ภาครัฐ เป็นต้น

เชียงรายคึกรับเออีซี หมอชื่อดังทุ่ม 100 ล้านผุดโรงแรม


เชียงราย - เตรียมรับตลาดท่องเที่ยวเออีซีบวกจีนบูม หมอชื่อดังเมืองเชียงรายทุ่มทุนนับ 100 ล้านขยายธุรกิจโรงแรม พร้อมเปิดห้องจัดคอร์สสอนภาษากลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้บุคลากรใน สังกัด เพิ่มศักยภาพดึงดูดลูกค้าในอนาคต
      
       ท่ามกลางกระแสเออีซีที่กำลังบูมขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจท้องถิ่นของเชียงรายที่ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในเมืองหน้าด่านที่สำคัญของภาคเหนือกับเพื่อนบ้าน เริ่มเคลื่อนไหวรองรับธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นตามมาเช่นกัน โดยล่าสุดนายแพทย์วัชระ เตชะธีราวัฒน์ แพทย์ประจำโรงพยาบาล ได้หันมาลงทุนขยายกิจการโรงแรม ในนามบริษัทลักษวรรณ จำกัด เปิดโรงแรมใหม่ “ลักษวรรณ รีสอร์ท เชียงราย” ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย
      
       นายแพทย์วัชระบอกว่า เดิมประกอบวิชาชีพแพทย์ และจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงได้ขยายเป็นธุรกิจที่พักให้ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ ชุมชนสันโค้ง อ.เมือง จ.เชียงราย ชื่อโรงแรมมณีอินทร์ มีขนาดประมาณ 30 ห้อง กระทั่งเห็นว่ากิจการน่าจะมีอนาคต และเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเออีซีในอนาคต ดังนั้นจึงได้ขยายไปเปิดโรงแรมลักษวรรณ รีสอร์ท เชียงราย บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ในวงเงินลงทุนรวมราว 100 ล้านบาท โดยช่วงแรกๆ มีเพียง 36 ห้อง ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 99 ห้องแล้ว
      
       นายแพทย์วัชระกล่าวว่า ในอนาคตแม้ไทยจะเข้าสู่เออีซีผู้ ประกอบการก็ต้องปรับตัว เพราะสถานการณ์การท่องเที่ยวของเชียงรายมักจะมีผู้เข้าพักมากช่วงฤดูหนาว หรือไฮซีซัน ปีละ 3-4 เดือน ส่วนช่วงเวลาที่เหลือจะซบเซา ดังนั้นจึงได้มีการปรับตัวและพัฒนาองค์กรยกใหญ่เพื่อพึ่งพาตัวเองให้ได้ โดยปัจจุบันหันมาประสานตลาดด้านการจัดงานสัมมนา โดยจัดห้องสัมมนาเอาไว้ 3 ห้องใหญ่ มีศักยภาพรองรับผู้เข้าร่วมได้จำนวน 600 คน
      
       รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของบุคลากรองค์กรซึ่งเป็นพนักงานในจำนวน 42 คน และสามารถเรียกใช้พนักงานภายนอกเพิ่มเติมได้ แต่ละคนมีการฝึกให้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาในเออีซี เช่น ภาษาพม่า ฯลฯ เป็นคอร์ดสั้นๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
      
       สำหรับช่วงโลว์ซีซันก็หันไปให้บริการภาครัฐและเอกชนในการใช้บริการ ห้องประชุมสัมมนามากขึ้น เพื่อชดเชยการเข้าพักของนักท่องเที่ยวที่เบาบางลงได้เป็นอย่างดี โดยโรงแรมใช้วิธีให้ผู้จัดสัมมนาแจ้งงบประมาณเพื่อที่ทางโรงแรมจะได้สามารถ จัดการประชุมให้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้จัดสัมมนามีทางเลือกได้หลากหลาย
      
       ขณะที่ห้องพักก็จัดให้พักในราคาประหยัด 750-1,800 บาท ซึ่งราคา 750 บาทต่อห้องต่อคืนนั้นถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเมืองเชียงรายที่มีอายุครบ 750 ปีด้วย
      
       ทั้งนี้ ในช่วงโลว์ซีซันนี้พบว่าห้องพักทั่วภาคเหนือมียอดเฉลี่ยเข้าพักไม่ถึง 50% ส่วนของโรงแรมเราก็มีอัตราเฉลี่ยราวๆ 40% แต่เมื่อถึงไฮซีซันก็คาดว่าจะอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านๆ มาคือประมาณ 70% ขึ้นไป
      
       “คาดว่าเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 จะมีผู้คนเดินทางมาเชียงรายมากขึ้น เพราะเรามีด่านพรมแดนหลายแห่ง รวมทั้งยังเป็นจุดเชื่อมอาเซียนบวกจีนอีกด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนลงมามากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอยากให้มีการจัดระเบียบการ เปิดกิจการห้องพักให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ธุรกิจประเภทนี้ไปอยู่รวมกันที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไปจนต้องตัด ราคากันเอง เหมือนกับต่างประเทศเคยเห็นทำกันมาแล้ว ไม่เช่นนั้นจะเกิดการแออัดในอนาคต” นายแพทย์วัชระ กล่าว


ขอบคุณ : thaiday.com

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรมส่งเสริมการส่งออกเล็งเจาะตลาดเออีซี เตรียมจัดงาน TILOG 2012

กรมส่งเสริมการส่งออก ขานรับนโยบายบุกตลาดอาเซียน หนุนจัดงาน TILOG 2012 เปิดเวทีโชว์นวัตกรรมสินค้าและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ กระตุ้นภาคเอกชนเร่งหาเครือข่ายธุรกิจเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร สร้างโอกาสการค้าเตรียมรับมือการแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้น        
    นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการขยายสัดส่วนการส่งออกสินค้าและบริการของไทยไปยังตลาดอาเซียนเพิ่มมากขึ้น กรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้เร่งหามาตรการเตรียมความพร้อมและช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกไทยให้สามารถรับมือการแข่งขันในเวทีการค้าอาเซียนได้อย่างมีศักยภาพ โดยร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย จัดงานแสดงสินค้าโลจิสติกส์ 2555 หรือ The 9th Thailand International Logistics Fair 2012 (TILOG 2012) ขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 22 กันยายนนี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้สร้างเครือข่ายโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรทางธุรกิจ พร้อมเผยแพร่ศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทย ในการเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและระบบโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระตุ้นภาคการส่งออกสินค้าและบริการไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้น 
    “ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ถือเป็นปัจจัยหลักที่อยู่ในทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวและหาแนวทางในการลดต้นทุนดังกล่าว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและคว้าโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงของเออีซีได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในงาน TILOG 2012 ครั้งนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกได้มาอัพเดตเทคโนโลยี สินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์จากบริษัทชั้นนำ รวมทั้งพบปะเจรจาการค้าและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการส่งออกไปยังตลาดโลกและอาเซียนได้มากขึ้น” นางนันทวัลย์ กล่าว
    นอกจากระดมสินค้าและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์มาจัดแสดงอย่างครบวงจรแล้ว ภายในงานยังมีกิจกรรมพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอีกมากมาย อาทิ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ การจัดแสดงข้อมูลการเลือกใช้เส้นทางขนส่งในกลุ่มประเทศ ASEAN+3 และ ASEAN +6 นิทรรศการ Green Logistics นิทรรศการและกรณีศึกษาเกี่ยวกับการลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ การสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจโดยวิทยากรชื่อดัง รวมทั้งการเปิดคลินิกให้คำปรึกษาด้านธุรกิจโลจิสติกส์ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในงาน TILOG 2012 อีกด้วย
    สำหรับผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับงาน The 9th Thailand International Logistics Fair 2012 (TILOG 2012) สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.logisticsfair.com, www.thaitradefair.com หรือสายด่วนกรมส่งเสริมการส่งออก 1169 และ http://www.facebook.com/TilogThailandInternationalLogisticsFair
 ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
   อุษณีย์ ถาวรกาญจน์  โทร.081 984 5500 Email: usanee@incom.co.th
   จิรสุดา จิตรากรณ์ โทร.081 641 7595 Email: jeerasuda@incom.co.th
   บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th





ขอบคุณ : logisticscorner.com

คอร์สภาษาอังกฤษเปิดใหม่ 20 ชม.

โรงเรียนภาษาโปร แลงเกวจ ฉลองเปิดคอร์สสอนภาษามากสุด กับคอร์สภาษาอังกฤษ 20 ชม. 4000.- ฟรี หนังสือ และเอกสารประกอบการเรียน
เปิดคอร์สเรียนวันเสาร์ เวลา 15.00 น. – 17.00 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2555
รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 21 กรกฎาคมนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-251-4631
ด่วน! รับจำนวนจำกัด


ด่วน! คอร์สภาษาจีนเปิดใหม่ 20 ชม. รับ AEC


หลังจากที่ข่าวการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ได้กระจายออกมามากขึ้นในประเทศไทย อัตราการเรียนภาษาของนักเรียนคนไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ตอนนี้ภาษาจีนเองก็กำลังมาแรงเช่นกัน
โรงเรียนภาษาโปร แลงเกวจ ซึ่งได้รับการไว้วางใจจากผู้ปกครอง และนักเรียนมากมายที่หลั่งไหลเข้ามา เรียนภาษาจีนที่นี่
ทางโรงเรียนจึงเปิดสอนคอร์สเรียนภาษาจีนพื้นฐานแบบกลุ่ม 5-8 คน 20 ชม. เพิ่มในราคาพิเศษสุดๆ แค่ 4000 บาท จะเปิดคอร์สเรียนในเสาร์ เวลา 13.00 น.-15.00 น. เริ่มเรียน 21กรกฎาคม 2555 นี้ สนใจสอบถามที่ 02-251-4631
ปล. อนาคตของคุณอยู่ที่การเริ่มต้นในวันนี้ รีบสมัครเข้านะคะ

ขอบคุณ : โรงเรียนภาษา โปร แลงเกวจ

10 วิธีเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง

ต้องยอมรับว่าคนไทยเราโดยปกติไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 มาตั้งแต่เกิดดังนั้นการที่จะเรียนรู้ เพื่อให้พูด อ่าน หรือเขียน ได้นั้นมันเป็นที่ต้องใช้เวลา และความพยายามมาก ดังนั้นวันนี้โปร แลงเกวจ จึงขอเสนอ 10 วิธีที่จะทำให้เรียนเรียนภาษาอังกฤษเก่งขึ้น ตามนี้เลยค่ะ
1. ความเกี่ยวเนื่อง : คุณจัดสัมพันธ์ระหว่างศัพท์แล้วเขียนออกมาเป็นผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
2. เขียน : การนำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น
3. วาดรูป : วาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความทรงจำถึงศัพท์นั้น
4. แสดง : แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่
5. สร้าง : ออก แบบ flashcards ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง
6. ความสัมพันธ์: กำหนดความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้น
7. ฟัง : นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่พยายามเรียนอยู่
8. เลือก : จำไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบ หรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น
9. ข้อจำกัด : คุณก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ ทั้ง หมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 15 คำ
10. สังเกต : พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ

ขอบคุณ : http://www.prolanguage.co.th/th/

เตรียมพร้อมภาษาอังกฤษรับAEC 2015

AEC 2015 จะเป็นโอกาส หรือเพียงอากาศ

จะเป็น…โอกาศ หรือเพียง…อากาศ อยู่ที่การเตรียมพร้อมของคุณ….วันนี้ !
โรงเรียนภาษาโปร แลงเกวจ สนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านภาษาเพื่อเตรียมพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียน (AEC 2015) กับหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในโครงการติดอาวุธทางปัญญาคอร์สภาษาอังกฤษพิชิต AEC
สำรองที่นั่งด่วน!
10 ท่านแรกเพียง 2300 บาท จากปกติ 4000 บาท (20 ชม.)
(รับจำนวนจำกัด ให้สิทธิผู้ที่ชำระเงินก่อน แต่หากชำระเงินหลังจากห้องเต็มแล้วเจ้าหน้าที่ยินดีคืนเงินค่ะ)
สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 27 กรกฎาคมศกนี้
สอบถามเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งที่ 02-250-0072 หรือ wasana.k@prolanguage.co.th
เวลาการอบรม ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี วันละ 2 ชม. เวลา 18.00 น. ถึง 20.00 น.
อาคารสยามกิตติ์ ชั้น 6 (ตรงข้ามโรงแรมโนโวเทล สยาม) สยามสแควร์ ซ.5-6 กทม. BTS : สยาม
เริ่มเปิดคอร์สแรกเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2555
สิ่งที่ท่านจะได้จากการอบรม
1. วัดระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษก่อน และหลังเรียนฟรี
2. เรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษา ที่มีความเชี่ยวชาญ ในบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนาน
3. ใบรับรอง หลังจบ และหลังผ่านการทดสอบวัดระดับความรู้หลังเรียน
ขั้นตอนการสมัคร
1. โทร หรืออีเมล์สำรองที่ เบอร์ 02-250-0072 หรือ wasana.k@prolanguage.co.th
2. กรอกใบสมัคร และทำการชำระเงิน หลังจากโทรมาสำรองที่นั่ง 5 วัน
3. ส่งใบสมัคร และข้อมูลยืนยันการชำระเงินมาที่อีเมล์ wasana.k@prolanguage.co.th
4. เจ้าหน้าที่จะเช็คข้อมูลพร้อมส่งอีเมล์ยืนยัน แนบด้วยตารางเรียน และกำหนดการอย่างละเอียดให้
โหลดใบสมัคร ได้ที่ http://file2.uploadfile.biz/i/IIENMEIMIWDDWV

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเอกชนในการสู้ศึก AEC

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวในหัวข้อ “ASEAN as and Engine of Economic Growth” ว่า ความท้าทายของธุรกิจไทย คือ การร่วมมือกันในหลายเรื่องเพื่อรักษาความน่าสนใจและการดึงดูดให้เป็นที่สนใจ ของนักลงทุนต่างประเทศเหมือนที่เคยเป็นมา เช่น การเปิดตลาดทางการค้าระหว่างกัน การลงทุนข้ามประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินลงทุน
ทั้งนี้ ปัจจุบันการลงทุนทางตรง (FDI) กลุ่มอาเซียนมีทั้งหมด 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐแต่เงินลงทุนส่วนใหญ่ได้เข้าไปลงทุนในประเทศสิงคโปร์ เป็นอันดับแรกและมาเลเซียเป็นอันดับสอง ส่วนของไทยเป็นอันดับสาม และ 70% ของเงินลงทุนทางตรงเริ่มเปลี่ยนไปสู่ในธุรกิจกลุ่มบริการ ซึ่งต่างจากเดิมที่เน้นการลงทุนทางด้านภาคการผลิต เช่น รถยนต์ ซึ่งนั่นหมายความว่าคนอาเซียนต้องการการบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะมีกำลังซื้อที่มากขึ้น รวมถึงต้องการระบบขนส่ง การศึกษาหรือสุขภาพที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี มีความเป็นห่วงจากการรวมกลุ่มอาเซียนคือ ความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่กำลังก้าวสู่การแข่งขันบนเวทีโลกเพื่อรับโอกาส และศักยภาพที่กลุ่มอาเซียนมีอยู่ เพราะประเทศไทยมีความคุ้นเคยและพอใจกับคำว่าแค่นี้ แต่ในเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่สามารถให้ธุรกิจไปโตในต่างประเทศได้ อย่างที่สิงคโปร์และญี่ปุ่นเป็น และมาเลเซียกำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เห็นได้จากการลงทุนของกลุ่มซีไอเอ็มบี จากมาเลเซียที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น
สิ่งที่สามารถจะทาให้ได้ก้าวไปอยู่ในทิศทางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ พวกเราต้องฝ่าการเติบโตแบบโมเดลจากคนรุ่นก่อนที่สร้างไว้ เพื่อขออนุญาตให้ขยายไปธุรกิจในต่างประเทศได้ โดยสิ่งหนึ่งคือการที่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนภาคเอกชนอย่างจริงจัง เช่น เอกชนควรได้รับการยกเว้นภาษีในเงินที่นำไปสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพราะปัจจุบันไทยมีเงินสาหรับงานด้านวิจัยและพัฒนาเพียง 0.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ขณะที่เกาหลีมีมากถึง 2.8-2.9% จีนมีเกือบ 2% และญี่ปุ่นอยู่ที่ 4% ซึ่งหมายถึงการมีงานดีไซน์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีเทคโนโลยี เพราะการที่ไทยไม่พัฒนาจะทาให้ไทยสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะมีวิธีการผลิตที่เหมือนกันแต่ประเทศอื่นมีต้นทุนที่ถูกกว่าเช่น แรงงานต้องไปที่จีนหรือพม่า ดังนั้น การที่จะให้บริษัทลงทุนในเรื่องของงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รัฐต้องเข้ามาช่วย กระทรวงการคลังต้องช่วย บีโอไอต้องช่วยเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องปรับ เป็นโครงสร้างของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และต้องคุมสถานการณ์ให้ได้ อาเซียนกำลังมาเหมือนสึนามิ เรามีความรู้สึกยังไง ต้องรอด คนไทยเก่งพอ ผมเชื่อแบบนั้น หลายประเทศอยู่หลังเรา เราไปก่อนเขาหลายเรื่อง
การรวมตัวกันของอาเซียนจะไม่เกิดปัญหาเหมือนยูโรโซน เพราะเราไม่มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุลเดียวกัน อาจจะมีผลกระทบบ้าง หากเศรษฐกิจในบางประเทศมีปัญหา เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2540 ที่ค่าเงินไทยมีปัญหาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคต่อ แต่วิกฤตยูโรโซนครั้งนี้ไม่รุนแรงและเชื่อว่าแต่ละประเทศสามารถประคับประคอง ได้ ส่วนไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงคือเรื่องที่จะมีนักเที่ยวมาไทยน้อยลง ส่งออกได้น้อยลงและกลุ่มยุโรปจะเข้ามาลงทุนในไทยน้อยลง
ประทีป ตั้งมติธรรม ในฐานะอุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวในงานสัมมนา การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชนไทย ว่า ปัจจุบันจะเห็นบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากแต่พบว่าจำนวน บริษัทไทยไปลงทุนต่างประเทศยังไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ อุปสรรคสำคัญน่าจะมาจากข้อจำกัดหลายๆด้าน คือ 1.ข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 2.กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นอุปสรรค และ 3.ความเข้าใจกฎหมาย ประเพณีท้องถิ่นระหว่างกันยังมีไม่มาก
ปัจจุบันสานักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการแก้ข้อจำกัดรวมถึงกฎหมายที่เป็นอุปสรรค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการไปลงทุนยังต่างประเทศทั้งทางตรง และลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของไทย
ทั้งนี้ เชื่อว่าภาคเอกชนของไทยมีความเข้มแข็งทางการเงินในระดับสูง ทาให้มีความพร้อมในการลงทุน โดยในแง่ของต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ส่วนใหญ่ในขณะนี้จะอยู่ที่ระดับประมาณ MLR-2% ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตต้มยากุ้งอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 13% ถือว่ามีความพร้อมในด้านการลงทุนได้อีกมาก นอกจากนี้กรณีภาครัฐจะลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้ และปีหน้าเหลือ 20% จะทาให้ภาคเอกชนของไทยมีเงินทุนเหลือในการพิจารณาไปลงทุนยังต่างประเทศ
ที่มา : พนิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ โพสต์ทูเดย์

ขอบคุณ thai-aec.com

เตรียมความรู้สู่ธุรกิจไอทีใน AEC - 1001


ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี พ.ศ. 2558 จากแหล่งข่าวหลายสำนักระบุว่า ประเทศไทยมีการตื่นตัวต่อการเตรียมตัวเกี่ยวกับเออีซี อยู่ในอันดับรั้งท้ายในกลุ่มประเทศสมาชิก

หากมองผลกระทบต่าง ๆ เพื่อกำหนดสิ่งที่ควรต้องเตรียมพร้อมกัน ทั้งในแวดวงบุคลากรทางการศึกษาทางด้านไอทีและการทำงานของวิศวกรไอที คงต้องเริ่มกันที่  I ในคำว่า IT หรือสารสนเทศซึ่งปัจจุบันพัฒนาจากสารสนเทศหรือข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว เข้าสู่ยุคองค์ความรู้หรือ โนว์เลดจ์ หรือสารสนเทศข่าวสารที่ก่อเกิดประโยชน์นำไปใช้งานกันได้แล้ว

สำหรับอาเซียนก็คงจะไม่ผิดซึ่งองค์ความรู้ที่ “จำเป็น” สำหรับทั้งการศึกษา และธุรกิจด้านวิศวกรรมไอทีนั้นประกอบด้วย 4 ด้านหลักคือ องค์ความรู้ศาสตร์และวิทยาการ, เศรษฐกิจ, สังคม และแนวปฏิบัติที่ทำกันมาที่สั่งสมเป็นภูมิปัญญา ซึ่งธุรกิจด้านวิศวกรรม หรือนวัตกรรมใดก็ตามโดยเฉพาะไอที จะต้องนำองค์ความรู้ 4 อย่างนี้ไปออกแบบ พัฒนา ก่อสร้าง ผลิต ตรวจสอบ ติดตั้ง สินค้า บริการ นวัตกรรมทางไอที ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบ หรือบริการบุคลากร โดยมองเงื่อนไข ข้อจำกัด ด้านต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรในท้องถิ่น สังคม กฎหมาย ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ พื้นที่ ภูมิอากาศ นิสัยใจคอของบุคลากร ที่หลากหลายมากขึ้น

ยังมีโจทย์ ปัญหา ความท้าทายใหม่ ในระดับภูมิภาค ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อาเซียนแบ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นผืนแผ่นดิน และกลุ่มประเทศเกาะ โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่เหมาะสมจะไม่เหมือนกัน อาเซียนมีภัยพิบัติเฉพาะภูมิภาคน่าจะเป็นโอกาสของระบบไอทีเตือนภัยที่ต่าง จากภูมิภาคอื่น หรือการรับมือกับโรคเฉพาะภูมิภาค ประเภทเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งต้องใช้ความรู้ไอทีเข้าไปพัฒนาสินค้าหรือบริการไอทีที่ตอบสนองธุรกิจ ระดับภูมิภาค

ปัจจัยที่ทำให้สามารถขยายตัวเองเข้าสู่ระดับสากลได้สำเร็จ บริษัท ตัววิศวกร หรือนิสิตนักศึกษา จะต้องปรับตัวให้เข้ากับความหลากหลายและแตกต่างได้ ซึ่งแนวทางปรับตัวมีวิธีการพื้นฐาน 3 ขั้นตอนคือ

อันดับแรก “การประเมิน” ตนเอง ทั้งระดับองค์กร, บริษัท, กลุ่มหน่วยงานย่อย หรือตัวบุคคล เพื่อรับรู้สภาพปัญหา หรือ “องค์ความรู้” ในระดับภูมิภาคหรือสากลที่เรายังขาด ยังไม่ชำนาญ โดยเน้นองค์ความรู้ 4 ด้านที่กล่าวไว้ คือศาสตร์และวิทยาการเทคโนโลยีที่ใช้ ซึ่งในวงการไอทีเป็นวงการสากลอยู่แล้วประเทศไทยจึงอยู่ที่ประเมินว่า “ทันสมัย” หรือไม่, มีความรู้และสามารถดำเนินธุรกิจในเศรษฐกิจ การเงินการธนาคารระดับภูมิภาคอาเซียนหรือไม่, ด้านสังคม รวมไปถึงรู้จัก “ภาษา” วิธีการสื่อสาร วัฒนธรรมองค์กรความเชื่อกฎหมาย ศาสนาของอาเซียนที่มีผลต่อธุรกิจหรือยัง และรู้แนวปฏิบัติหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของอาเซียนที่เราจะไปติดต่อค้าขาย ด้วย เช่น วิธีทำการตลาดของสินค้าไอทีแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกัน
ขั้นตอนที่สองคือ “เรียนรู้แสวงหา” องค์ความรู้ใหม่ที่เราขาดไป ติดตามข่าวสาร ยอมรับความต่างของสิ่งที่ไม่คุ้นเคย วิธีที่ไม่คุ้นเคย เครื่องมือ ศาสตร์ ภาษา วิธีการทำงาน ระเบียบ กฎที่ไม่คุ้นเคยได้ โดยตั้งหลักในความถูกต้อง (จากหลักของประเทศไทยสู่ถูกต้องระดับอาเซียน) ซึ่งองค์ความรู้ด้านศาสตร์และวิทยาการจะไม่เป็นอุปสรรคเพราะมีความเป็นสากล อยู่แล้วจะมีความแตกต่างในด้านความทันสมัย ส่วนด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และ ค่านิยมต่าง ๆ นั้นต้องอาศัยการยอมรับและปรับตัวให้เรียนรู้ได้รวดเร็ว แล้วนำองค์ความรู้ที่เรียนรู้ หรือซื้อหามาไปใช้แทน หรือประยุกต์กับองค์ความรู้เดิมที่ใช้ระดับประเทศ

ขั้นตอนสุดท้ายคือต้อง “พัฒนา” การ     ทำงาน สินค้า บริการ การเรียนรู้ใหม่ซึ่งทักษะสำคัญที่ต้องทำให้ได้ 4 ทักษะ โดยทักษะแรกคือสามารถทำงานร่วมกันแบบกระจายงานให้ได้ เน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน การทำงานร่วมกันจากเดิมในกลุ่มในทีม ระหว่างบริษัทในประเทศ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเออีซี จะกระจายในระดับประเทศซึ่งการติดต่อสื่อสารจะทำได้ยากขึ้นต้องทำงานผ่าน เทคโนโลยี ไอที ทำให้เกิดข้อจำกัด เช่น เวลา งบประมาณ ภาษา ซึ่งทำให้อาจจะต้องเพิ่มต้นทุนให้กับตัวกลางหรือหน่วยงานกลางในระดับธุรกิจ  หรือ ส่วนบุคคลต้องสร้างทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมข้ามชาติ ของตนเองโดยเน้นทักษะด้านภาษาและความรู้ด้านวัฒนธรรม

ทักษะต่อมาคือ ทุกองค์กร หรือทุกคนในวงการไอทีควรสามารถอธิบาย หรือเข้าถึงข้อมูลธุรกิจไอทีของอาเซียนให้ได้ เช่น การตลาด ผู้บริโภค ผู้จ้างงาน บริษัท แหล่งรายได้ในอาเซียน ซึ่งอาจจะต้องอาศัยทักษะด้านภาษาและวัฒนธรรม และเข้าถึงแหล่งความรู้เหล่านี้

ทักษะที่สามคือ ต้องเข้าใจและสามารถปรับตัวกับการควบรวมกิจการ องค์กร บริษัท ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในแทบทุกวงการโดยเฉพาะไอที เพราะเป็นกลวิธีทางธุรกิจพื้นฐานในการขยายการเติบโต ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน เช่น องค์กรแปลงไปเป็นอีกองค์กร หรือยังคงอยู่แต่ต้องปรับให้เข้ากับระบบใหม่ ตัววิศวกรไอทีหรือบุคลากรต้องสามารถปรับตัวได้ รวมทั้งบริษัทไทยเองก็อาจจะเป็นผู้ไปควบรวมกิจการในอาเซียนซึ่งต้องคำนึงถึง การผนวกองค์ความรู้ทั้ง 4 ด้านของไทยเข้ากับองค์กรในประเทศนั้น

ทักษะสุดท้ายคือสามารถวิเคราะห์ “ข้อดี” หรือ “โอกาส” ของสินค้าและบริการเฉพาะพื้นที่ในภูมิภาคให้ได้ เช่น เพิ่มฟังก์ชั่นการออกแบบสินค้า หรือบริการไอทีที่เฉพาะภูมิภาค หรือประเทศนั้น (เช่นมองด้านกฎหมาย หรือการเงิน) ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทางธุรกิจ, มองโอกาสที่เพิ่มขึ้น ช่องทางที่เพิ่มให้สิ่งที่ออกแบบมีมูลค่าเพิ่ม เช่น ต้องมีวิธีการใช้งานเฉพาะประเทศนั้น ๆ เช่น มีหน้าจอการใช้งานที่ใช้ภาษาประเทศนั้น มีการใช้สีสัน รูปแบบเฉพาะกลุ่ม และคิดค้นหาวิธียุบรวมให้เหลือสินค้า บริการ การทำงานต่าง ๆ ที่ตอบสนองเรื่องเดียวกัน, ความต้องการแบบเดียวกันให้เหลือน้อย เป็นมาตรฐาน  แต่ให้สามารถพัฒนาปรับไปใช้งานได้กับภาษาอื่น หรือพัฒนาเพิ่มความเป็นท้องถิ่นแทรกได้ เป็นต้น เช่น โปรแกรมที่เปลี่ยนหน้าจอได้ อุปกรณ์ที่ปรับปุ่ม สีสันภายนอกได้ หรือแม้แต่คู่มือการทำงานที่ปรับให้เหมาะกับประเทศนั้นได้ เป็นต้น

การเปิดอาเซียนหรือเออีซีจริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งใหม่แต่เป็นเรื่องเดิมที่ขยายเพิ่มขึ้น หากมองว่าเราก็ต้องมีการปรับตัวจากสิ่งที่ทำในบ้านให้เข้ากับที่ทำงาน ที่โรงเรียน ต้องปรับให้เหมาะกับบริษัทที่ไปทำงานใหม่ หรือแม้แต่จากเมืองหลวงกับชนบทซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของการแลกเปลี่ยน เรียนรู้องค์ความรู้ของตนเข้ากับคนอื่น ต้องมีการ
ยอมรับปรับตัว อาศัยแนวปฏิบัติ 3 ขั้นตอนที่กล่าวมาใครที่ปรับตัวเก่งก็น่าจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จแต่ที่ สำคัญคือการช่วยเหลือเกื้อกูลให้กับผู้อื่นให้ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ที่มีความสุขกันให้ได้ครับ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิษณุ คนองชัยยศ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ขอบคุณ...  dailynews.co.th

AEC กับ 7 อาชีพที่อยู่รอด

AEC กับ 7 อาชีพที่อยู่รอด

7 อาชีพที่อีก 3 ปีข้างหน้าไม่ตกงาน
อาชีพในไทยเรามีการเปิดโอกาสให้การค้าเสรีอาเซียนเข้ามาโดยเสรีมีอะไรบ้าง
งานวิศวกรรม
งานพยาบาล
งานสถาปัตยกรรม
งานการสำรวจ
งานแพทย์
งานทันตแพทย์
งานบัญชี

ขอบคุณ... http://www.prolanguage.co.th/th/

(AEC 2015)การพัฒนาเยาวชนด้านภาษา

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC 2015)” กับการพัฒนาเยาวชนด้านภาษาเป็นหลัก
เมื่อถึงปี 2015 เราทำการค้าต่างประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ชาวต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจมากขึ้นภาษาไทยคงไม่ได้เป็นภาษากลาง เราอาจต้องใช้ภาษาที่สองในการสื่อสารทำการค้าและภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็น อย่างมาก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรากำลังตื่นตัวในเรื่อง AEC 2015 ที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีแนวโน้มพัฒนาเยาวชนทางด้านภาษาโดยมุ่งเน้นให้มีการ เพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ ในด้านตำราเรียนบทเรียนต่าง ๆ จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ให้นักเรียนฝึกพูดอ่านเขียนภาษาอังกฤษ

อ่านต่อ... http://www.prolanguage.co.th/th/learn-chinese/aec-2015/

จนท.เชียงรายเสริมจีน-อังกฤษรับAEC


เชียงราย – เมืองพ่อขุนฯ เปิดห้องระดมข้าราชการ พนักงานเข้าติวเข้มเสริมทักษะภาษารองรับ AEC จัดสอนให้ทุกเย็นจันทร์-ศุกร์ และเสาร์อีกครึ่งวัน เน้น “อังกฤษ-จีน
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านภาษาต่างประเทศ ณ ห้องประชุมธรรมลังกา ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ฝ่ายต่างๆ ได้มีความพร้อมในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีของประเทศไทยในปี 2558 โดยเฉพาะ จ.เชียงรายเป็นจังหวัดที่เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศและเชื่อม สู่ประเทศจีน
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ด้านการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และภาษาจีนซึ่งมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มเออีซีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังจะมีการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรม เหตุการณ์ปัจจุบันของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนด้วย


อ่านต่อ http://www.prolanguage.co.th/th/asean-community/chinese-english/




วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ห่วง! คนไทยอ่อนภาษาปัญหา AEC


โหมเปิดช่องธุรกิจส่งออกAEC เจาะประเทศจีน-เปรู รับอนาคต FTA ชี้ปัญหาไทยด้อยศักยภาพเรื่องภาษายังเรื่องใหญ่ที่น่าห่วง หลังเปิดประชามคมอาเซียน ปี 58 เผยปัจจุบันคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน โดยน้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผอ.สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง “ส่งออกสดใสภายใต้ FTA:อาเซียน จีน และเปรู” และมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการค้าต่างประเทศให้ความรู้และข้อมูล โดยมีภาคธุรกิจ นักศึกษาและประชาชนที่สนในเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก นางสุภาวดี ไชยานุกุลกิตติ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญพิเศษ สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม กล่าวว่า ข้อตกลงที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดในปัจจุบันคือ AEC เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของไทย กระนั้นจากข้อมูลจากหลายฝ่ายรวมทั้งสื่อมวลชนทำให้ทราบว่าผู้ที่มีความยังคง เป็นบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ แต่ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปยังต้องปรับตัวยกใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงนี้จะมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง AEC กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ข้อมูลจากหลายฝ่ายที่พบและน่าเป็นห่วงยังคงเป็นเรื่องภาษา หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงกันไปแล้วว่าให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็น ภาษากลางในการสื่อสาร ปรากฎว่าคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน โดยน้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว

AEC เวียดนามตื่นตัวกว่าไทยเพราะภาษาอังกฤษ



หากมองไปที่ผลสำรวจระดับความตื่นตัวของรัฐสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เวียดนามถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีผลสำรวจแต่ละครั้งอยู่ในลำดับต้นตลอด คือติดอยู่ 1 ใน 3 จาก 10 ประเทศ ขณะนี้ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสำคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว อีกทั้งจะเป็นประตูสู่ความสำเร็จที่จะนำตัวเองไปสู่โอกาสทางสังคมและฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วย

การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสำคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูง

ความสามารถในการใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่ถูกกำหนดให้เป็นภาษากลางของอาเซียน เป็นเรื่องที่คนไทยในฐานะพลเมืองอาเซียนไม่สามารถหลีกเลี่ยง ดังนั้น การไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้ ย่อมหมายความว่าความสามารถที่มีในการแข่งขันหดหายไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่สำคัญการอุดมศึกษาไทยต้องมีกระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี อย่างมียุทธศาสตร์ด้วย ตัวอย่างนโยบายการศึกษาประชาคมอาเซียน ที่ประชาชนจับต้องได้และรัฐบาลน่าจะทำให้เป็นจริงเป็นจัง อย่างเช่น นโยบายภายใต้ความรับผิดชอบของ รมช.ศึกษาธิการ (นายศักดา คงเพชร) ที่ตั้งใจขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาตามโครงการส่งเสริมให้ครูไทยไปฝึกอบรมภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน เพื่อทำให้บุคลากรครูมีความตื่นตัว เกิดการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนนักเรียนและครูในอาเซียน ที่สำคัญคือนโยบายนี้จะทำให้เกิดการยอมรับในคุณสมบัติร่วมกันทางการศึกษาของภูมิภาคสู่การมีความพร้อมในการเปิดเสรีการศึกษา ตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น

อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เร่งฝึกภาษารับเออีซี

เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ยกย่องฝีมือแรงงานไทยอยู่แถวหน้า ยิ่งเป็นช่างฝีมือไม่เป็นสองรองใคร แม้จะเก่งและถนัดในชิ้นงาน แต่ต้องยอมรับว่ามีจุดอ่อนเรื่องภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ
คอร์สอบรมภาษาอาเซียนที่ 200 ชั่วโมง และ 60 ชั่วโมง จึงเกิดขึ้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเปิดห้องเรียนสอนภาษาสากล และภาษาอาเซียนทั่วทุกภาค รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในอีก 3 ปีข้างหน้า
ศิริวรรณ แรงงานไทยที่เตรียมตัวจะไปทำงานในร้านอาหารญี่ปุ่นมาฝึกภาษาในวันหยุด ครั้งละ 5 ชั่วโมง ได้รื้อฟื้นความรู้เดิม ที่ห่างหายมากว่า 20 ปี
ส่วนวารินทร์ ธุรการสาวที่เลือกอบรมภาษาอังกฤษ มั่นใจจบคอร์สจะฟุดฟิดฟอไฟกับหัวหน้างานชาวต่างชาติ ได้อย่างแน่นอนถ้าเก่งภาษามากขึ้น มีโอกาสของความก้าวหน้า
ต้นเดือนหน้า ห้องเรียนภาษาอาเซียน จะเปิดคลาสเต็มพิกัดแล้วถึงเวลาที่แรงงานไทย ต้องยกเครื่องเรื่องภาษาและเป็นความท้าทายในการพัฒนาฝึมือเตรียมพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลง

ขอบคุณ : http://www.prolanguage.co.th/th/




สมาคมธุรกิจไม้ จัดงานสัมมนาหัวข้อ “AEC Digest" สำรองที่นั่งฟรี

สมาคมธุรกิจไม้ จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “AEC Digest : ย่อเรื่องยากให้ง่าย ทำเรื่องลึกให้ตื้น ให้อุตสาหกรรมไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน ตื่นตัวก่อนตกขบวน”

สมาคมธุรกิจไม้ร่วมกับส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเรือน สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “AEC Digest : ย่อเรื่องยากให้ง่าย ทำเรื่องลึกให้ตื้น ให้อุตสาหกรรมไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน ตื่นตัวก่อนตกขบวน” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะประเภทไม้และเครื่องเรือน ได้เตรียมพร้อมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลังประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่ 02-367-8254 และ 02-330-8352  หรือดาวน์โหลดแบบลงทะเบียนที่ www.thaitimber.org

วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 เวลา 8.30 น.- 17.00 น.
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถนนวิภาวดี-รังสิต กรุงเทพฯ



วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

AEC ส่งผลต่างประเทศแห่เรียนภาษาไทย


นางสุภาวดี ไชยานุกุลกิตติ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญพิเศษ สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในงาน การสัมมนาเรื่อง “ส่งออกสดใสภายใต้ FTA:อาเซียน จีน และเปรู” ว่า ผลการศึกษายังพบว่านักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านระบุว่าเมื่อเรียนจบแล้วอยาก จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วย ทำให้มีการเรียนภาษาไทยกันยกใหญ่รวมทั้งได้ติดตามสื่อโทรทัศน์ของไทยอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มนี้ได้ 3 ภาษาคือภาษาถิ่นของตัวเอง ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ทั้งที่คนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน โดยน้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว ดังนั้นประเทศไทยเราจึงต้องปรับตัวให้มากขึ้น



ขอบคุณ : http://www.prolanguage.co.th/th/asean-community/aec-fta/


 

HR เตรียมปรับภาษารับมือ AEC 2012



การเปิดเสรีแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียนในปี 2558 มีผลให้แรงงานใน 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ งานทันตแพทย์ งานแพทย์ งานพยาบาล งานบัญชี งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม และงานการสำรวจ สามารถโยกย้ายได้อย่างเสรี เมื่อแรงงานในประเทศและนอกประเทศสามารถโยกย้ายเข้าออกได้อย่างเสรีแล้ว HR ผู้มีหน้าที่ใน การบริหารงานบุคคล ต้องมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้กล่าวถึงทักษะความรู้ที่ HR ต้องพัฒนาเพื่อรับมือ AEC หลายส่วนและหนึ่งในนั้นก็คือด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทั้งโอกาส และอุปสรรคสำคัญของคนไทยในการแข่งขันกับคู่แข่ง องค์กรจึงควรมีการพัฒนาบุคลากรในด้านภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมคู่แข่ง และสามารถสื่อสารกับลูกค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติได้อย่างราบรื่น

ขอบคุณ : http://www.prolanguage.co.th/th/asean-community/aec-hr/