วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเอกชนในการสู้ศึก AEC

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวในหัวข้อ “ASEAN as and Engine of Economic Growth” ว่า ความท้าทายของธุรกิจไทย คือ การร่วมมือกันในหลายเรื่องเพื่อรักษาความน่าสนใจและการดึงดูดให้เป็นที่สนใจ ของนักลงทุนต่างประเทศเหมือนที่เคยเป็นมา เช่น การเปิดตลาดทางการค้าระหว่างกัน การลงทุนข้ามประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินลงทุน
ทั้งนี้ ปัจจุบันการลงทุนทางตรง (FDI) กลุ่มอาเซียนมีทั้งหมด 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐแต่เงินลงทุนส่วนใหญ่ได้เข้าไปลงทุนในประเทศสิงคโปร์ เป็นอันดับแรกและมาเลเซียเป็นอันดับสอง ส่วนของไทยเป็นอันดับสาม และ 70% ของเงินลงทุนทางตรงเริ่มเปลี่ยนไปสู่ในธุรกิจกลุ่มบริการ ซึ่งต่างจากเดิมที่เน้นการลงทุนทางด้านภาคการผลิต เช่น รถยนต์ ซึ่งนั่นหมายความว่าคนอาเซียนต้องการการบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะมีกำลังซื้อที่มากขึ้น รวมถึงต้องการระบบขนส่ง การศึกษาหรือสุขภาพที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี มีความเป็นห่วงจากการรวมกลุ่มอาเซียนคือ ความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่กำลังก้าวสู่การแข่งขันบนเวทีโลกเพื่อรับโอกาส และศักยภาพที่กลุ่มอาเซียนมีอยู่ เพราะประเทศไทยมีความคุ้นเคยและพอใจกับคำว่าแค่นี้ แต่ในเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่สามารถให้ธุรกิจไปโตในต่างประเทศได้ อย่างที่สิงคโปร์และญี่ปุ่นเป็น และมาเลเซียกำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เห็นได้จากการลงทุนของกลุ่มซีไอเอ็มบี จากมาเลเซียที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น
สิ่งที่สามารถจะทาให้ได้ก้าวไปอยู่ในทิศทางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ พวกเราต้องฝ่าการเติบโตแบบโมเดลจากคนรุ่นก่อนที่สร้างไว้ เพื่อขออนุญาตให้ขยายไปธุรกิจในต่างประเทศได้ โดยสิ่งหนึ่งคือการที่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนภาคเอกชนอย่างจริงจัง เช่น เอกชนควรได้รับการยกเว้นภาษีในเงินที่นำไปสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพราะปัจจุบันไทยมีเงินสาหรับงานด้านวิจัยและพัฒนาเพียง 0.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ขณะที่เกาหลีมีมากถึง 2.8-2.9% จีนมีเกือบ 2% และญี่ปุ่นอยู่ที่ 4% ซึ่งหมายถึงการมีงานดีไซน์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีเทคโนโลยี เพราะการที่ไทยไม่พัฒนาจะทาให้ไทยสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะมีวิธีการผลิตที่เหมือนกันแต่ประเทศอื่นมีต้นทุนที่ถูกกว่าเช่น แรงงานต้องไปที่จีนหรือพม่า ดังนั้น การที่จะให้บริษัทลงทุนในเรื่องของงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รัฐต้องเข้ามาช่วย กระทรวงการคลังต้องช่วย บีโอไอต้องช่วยเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องปรับ เป็นโครงสร้างของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และต้องคุมสถานการณ์ให้ได้ อาเซียนกำลังมาเหมือนสึนามิ เรามีความรู้สึกยังไง ต้องรอด คนไทยเก่งพอ ผมเชื่อแบบนั้น หลายประเทศอยู่หลังเรา เราไปก่อนเขาหลายเรื่อง
การรวมตัวกันของอาเซียนจะไม่เกิดปัญหาเหมือนยูโรโซน เพราะเราไม่มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุลเดียวกัน อาจจะมีผลกระทบบ้าง หากเศรษฐกิจในบางประเทศมีปัญหา เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2540 ที่ค่าเงินไทยมีปัญหาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคต่อ แต่วิกฤตยูโรโซนครั้งนี้ไม่รุนแรงและเชื่อว่าแต่ละประเทศสามารถประคับประคอง ได้ ส่วนไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงคือเรื่องที่จะมีนักเที่ยวมาไทยน้อยลง ส่งออกได้น้อยลงและกลุ่มยุโรปจะเข้ามาลงทุนในไทยน้อยลง
ประทีป ตั้งมติธรรม ในฐานะอุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวในงานสัมมนา การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชนไทย ว่า ปัจจุบันจะเห็นบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากแต่พบว่าจำนวน บริษัทไทยไปลงทุนต่างประเทศยังไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ อุปสรรคสำคัญน่าจะมาจากข้อจำกัดหลายๆด้าน คือ 1.ข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 2.กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นอุปสรรค และ 3.ความเข้าใจกฎหมาย ประเพณีท้องถิ่นระหว่างกันยังมีไม่มาก
ปัจจุบันสานักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการแก้ข้อจำกัดรวมถึงกฎหมายที่เป็นอุปสรรค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการไปลงทุนยังต่างประเทศทั้งทางตรง และลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของไทย
ทั้งนี้ เชื่อว่าภาคเอกชนของไทยมีความเข้มแข็งทางการเงินในระดับสูง ทาให้มีความพร้อมในการลงทุน โดยในแง่ของต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ส่วนใหญ่ในขณะนี้จะอยู่ที่ระดับประมาณ MLR-2% ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตต้มยากุ้งอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 13% ถือว่ามีความพร้อมในด้านการลงทุนได้อีกมาก นอกจากนี้กรณีภาครัฐจะลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้ และปีหน้าเหลือ 20% จะทาให้ภาคเอกชนของไทยมีเงินทุนเหลือในการพิจารณาไปลงทุนยังต่างประเทศ
ที่มา : พนิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ โพสต์ทูเดย์

ขอบคุณ thai-aec.com

ไม่มีความคิดเห็น: