วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเอกชนในการสู้ศึก AEC

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวในหัวข้อ “ASEAN as and Engine of Economic Growth” ว่า ความท้าทายของธุรกิจไทย คือ การร่วมมือกันในหลายเรื่องเพื่อรักษาความน่าสนใจและการดึงดูดให้เป็นที่สนใจ ของนักลงทุนต่างประเทศเหมือนที่เคยเป็นมา เช่น การเปิดตลาดทางการค้าระหว่างกัน การลงทุนข้ามประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินลงทุน
ทั้งนี้ ปัจจุบันการลงทุนทางตรง (FDI) กลุ่มอาเซียนมีทั้งหมด 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐแต่เงินลงทุนส่วนใหญ่ได้เข้าไปลงทุนในประเทศสิงคโปร์ เป็นอันดับแรกและมาเลเซียเป็นอันดับสอง ส่วนของไทยเป็นอันดับสาม และ 70% ของเงินลงทุนทางตรงเริ่มเปลี่ยนไปสู่ในธุรกิจกลุ่มบริการ ซึ่งต่างจากเดิมที่เน้นการลงทุนทางด้านภาคการผลิต เช่น รถยนต์ ซึ่งนั่นหมายความว่าคนอาเซียนต้องการการบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะมีกำลังซื้อที่มากขึ้น รวมถึงต้องการระบบขนส่ง การศึกษาหรือสุขภาพที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี มีความเป็นห่วงจากการรวมกลุ่มอาเซียนคือ ความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่กำลังก้าวสู่การแข่งขันบนเวทีโลกเพื่อรับโอกาส และศักยภาพที่กลุ่มอาเซียนมีอยู่ เพราะประเทศไทยมีความคุ้นเคยและพอใจกับคำว่าแค่นี้ แต่ในเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่สามารถให้ธุรกิจไปโตในต่างประเทศได้ อย่างที่สิงคโปร์และญี่ปุ่นเป็น และมาเลเซียกำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เห็นได้จากการลงทุนของกลุ่มซีไอเอ็มบี จากมาเลเซียที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น
สิ่งที่สามารถจะทาให้ได้ก้าวไปอยู่ในทิศทางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ พวกเราต้องฝ่าการเติบโตแบบโมเดลจากคนรุ่นก่อนที่สร้างไว้ เพื่อขออนุญาตให้ขยายไปธุรกิจในต่างประเทศได้ โดยสิ่งหนึ่งคือการที่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนภาคเอกชนอย่างจริงจัง เช่น เอกชนควรได้รับการยกเว้นภาษีในเงินที่นำไปสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพราะปัจจุบันไทยมีเงินสาหรับงานด้านวิจัยและพัฒนาเพียง 0.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ขณะที่เกาหลีมีมากถึง 2.8-2.9% จีนมีเกือบ 2% และญี่ปุ่นอยู่ที่ 4% ซึ่งหมายถึงการมีงานดีไซน์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีเทคโนโลยี เพราะการที่ไทยไม่พัฒนาจะทาให้ไทยสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะมีวิธีการผลิตที่เหมือนกันแต่ประเทศอื่นมีต้นทุนที่ถูกกว่าเช่น แรงงานต้องไปที่จีนหรือพม่า ดังนั้น การที่จะให้บริษัทลงทุนในเรื่องของงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รัฐต้องเข้ามาช่วย กระทรวงการคลังต้องช่วย บีโอไอต้องช่วยเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องปรับ เป็นโครงสร้างของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และต้องคุมสถานการณ์ให้ได้ อาเซียนกำลังมาเหมือนสึนามิ เรามีความรู้สึกยังไง ต้องรอด คนไทยเก่งพอ ผมเชื่อแบบนั้น หลายประเทศอยู่หลังเรา เราไปก่อนเขาหลายเรื่อง
การรวมตัวกันของอาเซียนจะไม่เกิดปัญหาเหมือนยูโรโซน เพราะเราไม่มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุลเดียวกัน อาจจะมีผลกระทบบ้าง หากเศรษฐกิจในบางประเทศมีปัญหา เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2540 ที่ค่าเงินไทยมีปัญหาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคต่อ แต่วิกฤตยูโรโซนครั้งนี้ไม่รุนแรงและเชื่อว่าแต่ละประเทศสามารถประคับประคอง ได้ ส่วนไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงคือเรื่องที่จะมีนักเที่ยวมาไทยน้อยลง ส่งออกได้น้อยลงและกลุ่มยุโรปจะเข้ามาลงทุนในไทยน้อยลง
ประทีป ตั้งมติธรรม ในฐานะอุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวในงานสัมมนา การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชนไทย ว่า ปัจจุบันจะเห็นบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากแต่พบว่าจำนวน บริษัทไทยไปลงทุนต่างประเทศยังไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ อุปสรรคสำคัญน่าจะมาจากข้อจำกัดหลายๆด้าน คือ 1.ข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 2.กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นอุปสรรค และ 3.ความเข้าใจกฎหมาย ประเพณีท้องถิ่นระหว่างกันยังมีไม่มาก
ปัจจุบันสานักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการแก้ข้อจำกัดรวมถึงกฎหมายที่เป็นอุปสรรค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการไปลงทุนยังต่างประเทศทั้งทางตรง และลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของไทย
ทั้งนี้ เชื่อว่าภาคเอกชนของไทยมีความเข้มแข็งทางการเงินในระดับสูง ทาให้มีความพร้อมในการลงทุน โดยในแง่ของต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ส่วนใหญ่ในขณะนี้จะอยู่ที่ระดับประมาณ MLR-2% ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตต้มยากุ้งอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 13% ถือว่ามีความพร้อมในด้านการลงทุนได้อีกมาก นอกจากนี้กรณีภาครัฐจะลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้ และปีหน้าเหลือ 20% จะทาให้ภาคเอกชนของไทยมีเงินทุนเหลือในการพิจารณาไปลงทุนยังต่างประเทศ
ที่มา : พนิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ โพสต์ทูเดย์

ขอบคุณ thai-aec.com

เตรียมความรู้สู่ธุรกิจไอทีใน AEC - 1001


ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี พ.ศ. 2558 จากแหล่งข่าวหลายสำนักระบุว่า ประเทศไทยมีการตื่นตัวต่อการเตรียมตัวเกี่ยวกับเออีซี อยู่ในอันดับรั้งท้ายในกลุ่มประเทศสมาชิก

หากมองผลกระทบต่าง ๆ เพื่อกำหนดสิ่งที่ควรต้องเตรียมพร้อมกัน ทั้งในแวดวงบุคลากรทางการศึกษาทางด้านไอทีและการทำงานของวิศวกรไอที คงต้องเริ่มกันที่  I ในคำว่า IT หรือสารสนเทศซึ่งปัจจุบันพัฒนาจากสารสนเทศหรือข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว เข้าสู่ยุคองค์ความรู้หรือ โนว์เลดจ์ หรือสารสนเทศข่าวสารที่ก่อเกิดประโยชน์นำไปใช้งานกันได้แล้ว

สำหรับอาเซียนก็คงจะไม่ผิดซึ่งองค์ความรู้ที่ “จำเป็น” สำหรับทั้งการศึกษา และธุรกิจด้านวิศวกรรมไอทีนั้นประกอบด้วย 4 ด้านหลักคือ องค์ความรู้ศาสตร์และวิทยาการ, เศรษฐกิจ, สังคม และแนวปฏิบัติที่ทำกันมาที่สั่งสมเป็นภูมิปัญญา ซึ่งธุรกิจด้านวิศวกรรม หรือนวัตกรรมใดก็ตามโดยเฉพาะไอที จะต้องนำองค์ความรู้ 4 อย่างนี้ไปออกแบบ พัฒนา ก่อสร้าง ผลิต ตรวจสอบ ติดตั้ง สินค้า บริการ นวัตกรรมทางไอที ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบ หรือบริการบุคลากร โดยมองเงื่อนไข ข้อจำกัด ด้านต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรในท้องถิ่น สังคม กฎหมาย ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ พื้นที่ ภูมิอากาศ นิสัยใจคอของบุคลากร ที่หลากหลายมากขึ้น

ยังมีโจทย์ ปัญหา ความท้าทายใหม่ ในระดับภูมิภาค ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อาเซียนแบ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นผืนแผ่นดิน และกลุ่มประเทศเกาะ โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่เหมาะสมจะไม่เหมือนกัน อาเซียนมีภัยพิบัติเฉพาะภูมิภาคน่าจะเป็นโอกาสของระบบไอทีเตือนภัยที่ต่าง จากภูมิภาคอื่น หรือการรับมือกับโรคเฉพาะภูมิภาค ประเภทเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งต้องใช้ความรู้ไอทีเข้าไปพัฒนาสินค้าหรือบริการไอทีที่ตอบสนองธุรกิจ ระดับภูมิภาค

ปัจจัยที่ทำให้สามารถขยายตัวเองเข้าสู่ระดับสากลได้สำเร็จ บริษัท ตัววิศวกร หรือนิสิตนักศึกษา จะต้องปรับตัวให้เข้ากับความหลากหลายและแตกต่างได้ ซึ่งแนวทางปรับตัวมีวิธีการพื้นฐาน 3 ขั้นตอนคือ

อันดับแรก “การประเมิน” ตนเอง ทั้งระดับองค์กร, บริษัท, กลุ่มหน่วยงานย่อย หรือตัวบุคคล เพื่อรับรู้สภาพปัญหา หรือ “องค์ความรู้” ในระดับภูมิภาคหรือสากลที่เรายังขาด ยังไม่ชำนาญ โดยเน้นองค์ความรู้ 4 ด้านที่กล่าวไว้ คือศาสตร์และวิทยาการเทคโนโลยีที่ใช้ ซึ่งในวงการไอทีเป็นวงการสากลอยู่แล้วประเทศไทยจึงอยู่ที่ประเมินว่า “ทันสมัย” หรือไม่, มีความรู้และสามารถดำเนินธุรกิจในเศรษฐกิจ การเงินการธนาคารระดับภูมิภาคอาเซียนหรือไม่, ด้านสังคม รวมไปถึงรู้จัก “ภาษา” วิธีการสื่อสาร วัฒนธรรมองค์กรความเชื่อกฎหมาย ศาสนาของอาเซียนที่มีผลต่อธุรกิจหรือยัง และรู้แนวปฏิบัติหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของอาเซียนที่เราจะไปติดต่อค้าขาย ด้วย เช่น วิธีทำการตลาดของสินค้าไอทีแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกัน
ขั้นตอนที่สองคือ “เรียนรู้แสวงหา” องค์ความรู้ใหม่ที่เราขาดไป ติดตามข่าวสาร ยอมรับความต่างของสิ่งที่ไม่คุ้นเคย วิธีที่ไม่คุ้นเคย เครื่องมือ ศาสตร์ ภาษา วิธีการทำงาน ระเบียบ กฎที่ไม่คุ้นเคยได้ โดยตั้งหลักในความถูกต้อง (จากหลักของประเทศไทยสู่ถูกต้องระดับอาเซียน) ซึ่งองค์ความรู้ด้านศาสตร์และวิทยาการจะไม่เป็นอุปสรรคเพราะมีความเป็นสากล อยู่แล้วจะมีความแตกต่างในด้านความทันสมัย ส่วนด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และ ค่านิยมต่าง ๆ นั้นต้องอาศัยการยอมรับและปรับตัวให้เรียนรู้ได้รวดเร็ว แล้วนำองค์ความรู้ที่เรียนรู้ หรือซื้อหามาไปใช้แทน หรือประยุกต์กับองค์ความรู้เดิมที่ใช้ระดับประเทศ

ขั้นตอนสุดท้ายคือต้อง “พัฒนา” การ     ทำงาน สินค้า บริการ การเรียนรู้ใหม่ซึ่งทักษะสำคัญที่ต้องทำให้ได้ 4 ทักษะ โดยทักษะแรกคือสามารถทำงานร่วมกันแบบกระจายงานให้ได้ เน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน การทำงานร่วมกันจากเดิมในกลุ่มในทีม ระหว่างบริษัทในประเทศ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเออีซี จะกระจายในระดับประเทศซึ่งการติดต่อสื่อสารจะทำได้ยากขึ้นต้องทำงานผ่าน เทคโนโลยี ไอที ทำให้เกิดข้อจำกัด เช่น เวลา งบประมาณ ภาษา ซึ่งทำให้อาจจะต้องเพิ่มต้นทุนให้กับตัวกลางหรือหน่วยงานกลางในระดับธุรกิจ  หรือ ส่วนบุคคลต้องสร้างทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมข้ามชาติ ของตนเองโดยเน้นทักษะด้านภาษาและความรู้ด้านวัฒนธรรม

ทักษะต่อมาคือ ทุกองค์กร หรือทุกคนในวงการไอทีควรสามารถอธิบาย หรือเข้าถึงข้อมูลธุรกิจไอทีของอาเซียนให้ได้ เช่น การตลาด ผู้บริโภค ผู้จ้างงาน บริษัท แหล่งรายได้ในอาเซียน ซึ่งอาจจะต้องอาศัยทักษะด้านภาษาและวัฒนธรรม และเข้าถึงแหล่งความรู้เหล่านี้

ทักษะที่สามคือ ต้องเข้าใจและสามารถปรับตัวกับการควบรวมกิจการ องค์กร บริษัท ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในแทบทุกวงการโดยเฉพาะไอที เพราะเป็นกลวิธีทางธุรกิจพื้นฐานในการขยายการเติบโต ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน เช่น องค์กรแปลงไปเป็นอีกองค์กร หรือยังคงอยู่แต่ต้องปรับให้เข้ากับระบบใหม่ ตัววิศวกรไอทีหรือบุคลากรต้องสามารถปรับตัวได้ รวมทั้งบริษัทไทยเองก็อาจจะเป็นผู้ไปควบรวมกิจการในอาเซียนซึ่งต้องคำนึงถึง การผนวกองค์ความรู้ทั้ง 4 ด้านของไทยเข้ากับองค์กรในประเทศนั้น

ทักษะสุดท้ายคือสามารถวิเคราะห์ “ข้อดี” หรือ “โอกาส” ของสินค้าและบริการเฉพาะพื้นที่ในภูมิภาคให้ได้ เช่น เพิ่มฟังก์ชั่นการออกแบบสินค้า หรือบริการไอทีที่เฉพาะภูมิภาค หรือประเทศนั้น (เช่นมองด้านกฎหมาย หรือการเงิน) ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทางธุรกิจ, มองโอกาสที่เพิ่มขึ้น ช่องทางที่เพิ่มให้สิ่งที่ออกแบบมีมูลค่าเพิ่ม เช่น ต้องมีวิธีการใช้งานเฉพาะประเทศนั้น ๆ เช่น มีหน้าจอการใช้งานที่ใช้ภาษาประเทศนั้น มีการใช้สีสัน รูปแบบเฉพาะกลุ่ม และคิดค้นหาวิธียุบรวมให้เหลือสินค้า บริการ การทำงานต่าง ๆ ที่ตอบสนองเรื่องเดียวกัน, ความต้องการแบบเดียวกันให้เหลือน้อย เป็นมาตรฐาน  แต่ให้สามารถพัฒนาปรับไปใช้งานได้กับภาษาอื่น หรือพัฒนาเพิ่มความเป็นท้องถิ่นแทรกได้ เป็นต้น เช่น โปรแกรมที่เปลี่ยนหน้าจอได้ อุปกรณ์ที่ปรับปุ่ม สีสันภายนอกได้ หรือแม้แต่คู่มือการทำงานที่ปรับให้เหมาะกับประเทศนั้นได้ เป็นต้น

การเปิดอาเซียนหรือเออีซีจริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งใหม่แต่เป็นเรื่องเดิมที่ขยายเพิ่มขึ้น หากมองว่าเราก็ต้องมีการปรับตัวจากสิ่งที่ทำในบ้านให้เข้ากับที่ทำงาน ที่โรงเรียน ต้องปรับให้เหมาะกับบริษัทที่ไปทำงานใหม่ หรือแม้แต่จากเมืองหลวงกับชนบทซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของการแลกเปลี่ยน เรียนรู้องค์ความรู้ของตนเข้ากับคนอื่น ต้องมีการ
ยอมรับปรับตัว อาศัยแนวปฏิบัติ 3 ขั้นตอนที่กล่าวมาใครที่ปรับตัวเก่งก็น่าจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จแต่ที่ สำคัญคือการช่วยเหลือเกื้อกูลให้กับผู้อื่นให้ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ที่มีความสุขกันให้ได้ครับ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิษณุ คนองชัยยศ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ขอบคุณ...  dailynews.co.th

AEC กับ 7 อาชีพที่อยู่รอด

AEC กับ 7 อาชีพที่อยู่รอด

7 อาชีพที่อีก 3 ปีข้างหน้าไม่ตกงาน
อาชีพในไทยเรามีการเปิดโอกาสให้การค้าเสรีอาเซียนเข้ามาโดยเสรีมีอะไรบ้าง
งานวิศวกรรม
งานพยาบาล
งานสถาปัตยกรรม
งานการสำรวจ
งานแพทย์
งานทันตแพทย์
งานบัญชี

ขอบคุณ... http://www.prolanguage.co.th/th/

(AEC 2015)การพัฒนาเยาวชนด้านภาษา

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC 2015)” กับการพัฒนาเยาวชนด้านภาษาเป็นหลัก
เมื่อถึงปี 2015 เราทำการค้าต่างประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ชาวต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจมากขึ้นภาษาไทยคงไม่ได้เป็นภาษากลาง เราอาจต้องใช้ภาษาที่สองในการสื่อสารทำการค้าและภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็น อย่างมาก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรากำลังตื่นตัวในเรื่อง AEC 2015 ที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีแนวโน้มพัฒนาเยาวชนทางด้านภาษาโดยมุ่งเน้นให้มีการ เพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ ในด้านตำราเรียนบทเรียนต่าง ๆ จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ให้นักเรียนฝึกพูดอ่านเขียนภาษาอังกฤษ

อ่านต่อ... http://www.prolanguage.co.th/th/learn-chinese/aec-2015/

จนท.เชียงรายเสริมจีน-อังกฤษรับAEC


เชียงราย – เมืองพ่อขุนฯ เปิดห้องระดมข้าราชการ พนักงานเข้าติวเข้มเสริมทักษะภาษารองรับ AEC จัดสอนให้ทุกเย็นจันทร์-ศุกร์ และเสาร์อีกครึ่งวัน เน้น “อังกฤษ-จีน
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านภาษาต่างประเทศ ณ ห้องประชุมธรรมลังกา ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ฝ่ายต่างๆ ได้มีความพร้อมในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีของประเทศไทยในปี 2558 โดยเฉพาะ จ.เชียงรายเป็นจังหวัดที่เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศและเชื่อม สู่ประเทศจีน
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ด้านการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และภาษาจีนซึ่งมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มเออีซีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังจะมีการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรม เหตุการณ์ปัจจุบันของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนด้วย


อ่านต่อ http://www.prolanguage.co.th/th/asean-community/chinese-english/




วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ห่วง! คนไทยอ่อนภาษาปัญหา AEC


โหมเปิดช่องธุรกิจส่งออกAEC เจาะประเทศจีน-เปรู รับอนาคต FTA ชี้ปัญหาไทยด้อยศักยภาพเรื่องภาษายังเรื่องใหญ่ที่น่าห่วง หลังเปิดประชามคมอาเซียน ปี 58 เผยปัจจุบันคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน โดยน้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผอ.สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง “ส่งออกสดใสภายใต้ FTA:อาเซียน จีน และเปรู” และมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการค้าต่างประเทศให้ความรู้และข้อมูล โดยมีภาคธุรกิจ นักศึกษาและประชาชนที่สนในเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก นางสุภาวดี ไชยานุกุลกิตติ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญพิเศษ สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม กล่าวว่า ข้อตกลงที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดในปัจจุบันคือ AEC เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของไทย กระนั้นจากข้อมูลจากหลายฝ่ายรวมทั้งสื่อมวลชนทำให้ทราบว่าผู้ที่มีความยังคง เป็นบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ แต่ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปยังต้องปรับตัวยกใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงนี้จะมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง AEC กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ข้อมูลจากหลายฝ่ายที่พบและน่าเป็นห่วงยังคงเป็นเรื่องภาษา หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงกันไปแล้วว่าให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็น ภาษากลางในการสื่อสาร ปรากฎว่าคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน โดยน้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว

AEC เวียดนามตื่นตัวกว่าไทยเพราะภาษาอังกฤษ



หากมองไปที่ผลสำรวจระดับความตื่นตัวของรัฐสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เวียดนามถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีผลสำรวจแต่ละครั้งอยู่ในลำดับต้นตลอด คือติดอยู่ 1 ใน 3 จาก 10 ประเทศ ขณะนี้ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสำคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว อีกทั้งจะเป็นประตูสู่ความสำเร็จที่จะนำตัวเองไปสู่โอกาสทางสังคมและฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วย

การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสำคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูง

ความสามารถในการใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่ถูกกำหนดให้เป็นภาษากลางของอาเซียน เป็นเรื่องที่คนไทยในฐานะพลเมืองอาเซียนไม่สามารถหลีกเลี่ยง ดังนั้น การไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้ ย่อมหมายความว่าความสามารถที่มีในการแข่งขันหดหายไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่สำคัญการอุดมศึกษาไทยต้องมีกระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี อย่างมียุทธศาสตร์ด้วย ตัวอย่างนโยบายการศึกษาประชาคมอาเซียน ที่ประชาชนจับต้องได้และรัฐบาลน่าจะทำให้เป็นจริงเป็นจัง อย่างเช่น นโยบายภายใต้ความรับผิดชอบของ รมช.ศึกษาธิการ (นายศักดา คงเพชร) ที่ตั้งใจขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาตามโครงการส่งเสริมให้ครูไทยไปฝึกอบรมภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน เพื่อทำให้บุคลากรครูมีความตื่นตัว เกิดการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนนักเรียนและครูในอาเซียน ที่สำคัญคือนโยบายนี้จะทำให้เกิดการยอมรับในคุณสมบัติร่วมกันทางการศึกษาของภูมิภาคสู่การมีความพร้อมในการเปิดเสรีการศึกษา ตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น

อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/