วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เเนะปรับตัวรับประชาคมอาเซียน 2558

พม่าเตรียมสร้างสนามบินนานาชาติย่างกุ้งแห่งที่ 2 ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

ตาม รายงานข่าวเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่ากำลังมีโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ขึ้นในเมืองย่างกุ้ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตามรายงาน ของกระทรวงการท่องเที่ยวเปิดเผยว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปประเทศในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้ง นี้กรมการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กระทรวงการคมนาคมแห่งประเทศพม่า ได้มีการออกมาชี้แจงว่า ในเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการคมนาคมทางอากาศ โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนสนามบินนานาชาติเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ซึ่งสถานที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ เมืองย่างกุ้ง
มี รายงานว่า พื้นที่โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ จะถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ขึ้น-ลงเครื่องบินรบของทหารญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านทำเลที่ตั้งและอยู่ใกล้กับ เมืองสำคัญหลายแห่ง
นอก จากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่ากำลังมองหาผู้เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เป็นโครงการระยะยาว เพราะนอกจากโครงการสร้างสนามบินแห่งใหม่แล้ว ยังมีโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบต่าง ๆ ภายในสนามบินอีกหลายแห่งในประเทศ เนื่องจากขณะนี้เริ่มทรุดโทรมและไม่มีความทันสมัย

กรมอาเซียนมั่นใจไทยพร้อมรับ AEC 2558​

 
กรมอาเซียนเผยไทยเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอา เซียนแล้วร้อยละ70 ยอมรับช้ากว่าประเทศอื่น แต่มั่นใจว่าไทยเตรียมตัวได้ทันก่อนปี 2558 
ในการเสวนาประชาคมอาเซียน 2015: ภาพในมายาคติกับความเป็นจริง นางบุษฎี สันติพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ได้มากกว่าร้อยละ70 แล้ว และเชื่อมั่นว่าไทยจะเข้าสู่ AEC ได้ทันแน่นอน เนื่องจากไทยมีศักยภาพด้านทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีความได้เปรียบด้านพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีโครงสร้างแผนแม่บทของประเทศที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้ยอมรับว่า แม้ไทยจะเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC ได้ล่าช้ากว่าประเทศอื่น แต่มีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง 
รองศาสตราจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวเสวนาในหัวข้อ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก" ว่า ประเทศพม่าในช่วงหลัง มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญ ใน3ประเด็นหลัก ได้แก่ รัฐบาลพม่าให้ความสำคัญกับความมั่นคงเศรษฐกิจมากขึ้น เทียบเท่ากับปัจจัยความมั่นคงทางทหารและการเมือง รองลงมาคือ การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพม่าที่มีการเลือกฝักฝ่าย และปัญหาที่มาของอำนาจรัฐ เนื่องจากพม่าปกครองแบบเผด็จการมากว่า 50 ปี แม้จะเปิดประเทศแล้ว แต่ทหารยังครองอำนาจอยู่ ดังนั้นแม้ประเทศพม่าจะเปิดโอกาสให้นานาชาติเข้าประเทศมากขึ้น  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการลงทุน แต่พม่ายังต้องมีการปรับโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมอีก 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ นุชเปี่ยม ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยเชี่ยวชาญด้านแม่โขงศึกษา กล่าวว่า เวียดนามเคยเป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เวียดนามประสบปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและค่าเงินด่องที่อ่อนตัวลง ทำให้หลายประเทศเกิดความลังเลที่จะเข้ามาลงทุน  ดังนั้นการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ถือเป็นโอกาสที่เวียดนามจะดึงดูดนักลงทุนให้กลับสู่ภาวะปกติ ภายใต้ความเสี่ยงด้านระบบการเมืองในประเทศที่ยังใช้ระบบสั่งการอยู่  
ด้านนางวัชรินทร์ ยงศิริ นักวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวว่า ประเทศกัมพูชา มีปัญหาภายในประเทศ เช่น รัฐบาลที่บริหารโดยพรรคประชาชนกัมพูชา หรือ CPP มีความเข้มแข็ง เนื่องจากครองเสียงข้างมากในสภามากกว่าร้อยละ90 ทำให้กัมพูชามีแนวโน้มเป็นเผด็จการในรัฐสภา นอกจากนี้ยังออกกฎหมายอาญาฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ ในเดือนธันวาคม 2553 ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น หากประชาชนจะเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลต้องดำเนินการในพื้นที่ที่จัดไว้ให้เท่า นั้น ดังนั้นกัมพูชา ยังคงมีปัญหาภายในโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กัมพูชาอาจไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ขอบคุณ : Vilasinee

สรรพสามิตตื่นตัวเก็บเพิ่มภาษีเหล้า รับ AEC

กรมสรรพสามิตตื่นตัวรับเออีซี เล็งชงคลังไฟเขียวออก พ.ร.ก. เก็บภาษีจากราคาขายปลีก จากปัจจุบันเก็บจากราคาหน้าโรงงาน ระบุไม่เร่งแก้ไข ประเทศจะเสียหาย-รายได้ภาษีวูบ
           
            นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพสามิตได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 4 คณะ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58  ประกอบด้วย 1. คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ 2. คณะทำงานพิจารณาเรื่องของกระบวนการด้านกฎหมาย ว่าต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรหรือไม่ 3. คณะทำงานด้านพัฒนาบุคลากร และ 4. คณะทำงานพิจารณาด้านโครงสร้างองค์กร

            ทั้งนี้ จากการประเมินพบว่า เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 การเก็บภาษีสรรพสามิตจากราคาหน้าโรงงานจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจาก ปกติถ้าเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีการคิดราคาซีไอเอฟ บวกกับค่าอากรของกรมศุลกากร นั้นจากก็เอามาคำนวณรวมเพื่อคิดเป็นอัตราภาษีสรรพสามิต แต่เมื่อเปิดเสรีฯ อาเซียน ภาษีจากสินค้านำเข้าจะเป็น 0% ในทันที ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้กรมสรพสามิตเกิดปัญหาจากการจัดเก็บภาษี เพราะเม็ดเงินจากภาษีดังกล่าวก็จะหายไป และฐานการจัดเก็บของกรมฯ ก็จะเล็กลง

            อย่างไรก็ตาม ได้มีการหารือร่วมกันภายในกรมสรรพสามิต และได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า กรมสรรพสามิตอาจจะขอจัดเก็บภาษีบางส่วนเอง รวมถึงพิจารณาด้วยว่าอัตราภาษี 0% ควรจะเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ ในเบื้องต้นเห็นว่าควรจะปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากราคาหน้าโรงงาน เป็นจัดเก็บจากราคาขายปลีกทั้งหมด จะเป็นการดีที่สุด ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลและศึกษารายละเอียดต่างๆ

            นางเบญจา กล่าวต่อว่า ทางกรมสรรพสามิตจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลังได้พิจารณา รวมถึงนำเสนอแนวทางการดำเนินงานรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากเปิดเสรีประชาคมฯ ด้วย คือ กรมสรรพสามิต ก็จะออกเป็น พ.ร.ก. เพื่อปรับแก้ไขเฉพาะบางจุดด้านราคา ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าหากจะรอแก้ไขกฎหมายทั้งหมด

            ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตเห็นว่า หากไม่มีการดำเนินการออก พ.ร.ก.เพื่อปรับแก้ไขการจัดเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงาน เป็นราคาขายปลีก เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 ประเทศก็จะเกิดความเสียหายตามมา รายได้การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตก็จะหาย อีกทั้งหากไม่ดำเนินการ ปัญหาซีไอเอฟก็จะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อไป

             “กรมฯ จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเกี่ยวกับการออกกฎหมายเพื่อปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากราคาหน้าโรงงาน เป็นราคาขายปลีก ซึ่งถ้าเราไม่ทำประเทศก็จะได้รับความเสียหาย เมื่อมีการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 รายได้ภาษีของกรมฯ ก็จะหายไป เพราะภาษีนำเข้าเป็น 0%” นางเบญจา กล่าว

ไปรษณีย์ไทย ดันสินค้าโอทอปรับ ”เออีซี”

ไปรษณีย์” พร้อมรับศึกเออีซี ลุยเต็มสูบธุรกิจโลจิสติกส์-อีคอมเมิร์ซ เน้นสนองนโยบายรัฐ ปั้นที่ทำการไปรษณีย์ช่วยเหลือชาวสวนกระจายผลิตผลและสินค้าโอทอป

นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) นั้น นับเป็นโอกาสที่ดีของไปรษณีย์ที่จะนำศักยภาพด้านการให้บริการมาพัฒนาและเพิ่มความแข็งแกร่งให้องค์กร โดยไปรษณีย์ได้เตรียมความพร้อมไว้รองรับในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านธุรกิจโลจิสติกส์ ในเบื้องต้นได้มีการเจรจาขยายความร่วมมือไปยังการไปรษณีย์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อร่วมมือกันขนส่งและกระจายสินค้าระหว่างกัน

ปรับโฉมที่ทำการไปรษณีย์สู่ไฮเทค

อีกทั้งอาจขยายความร่วมมือไปยังญี่ปุ่น จีน เกาหลีด้วย เพื่อความแข็งแกร่งของไปรษณีย์ไทย และยังได้จ้างการไปรษณีย์ฝรั่งเศสเป็นที่ปรึกษาในการศึกษาลู่ทางการร่วมลงทุนกันพันธมิตรต่างๆ รวมถึงการวางแผนแนวทางการพัฒนาธุรกิจไปรษณีย์ไทยเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เพราะเชื่อว่าภาคบริการจะมีการแข่งขันสูงเมื่อมีการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ

นอกจากนี้ ยังจะขยายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (e-Commerce) ให้มากยิ่งขึ้น เพราะธุรกิจผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคในวงกว้าง เนื่องจากสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนั้น กลุ่มธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งของไปรษณีย์ไทย
ขณะเดียวกันจะพัฒนาที่ทำการไปรษณีย์ไทยให้มีบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อบริการประชาชนด้วยสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึง โดยไปรษณีย์จะเดินหน้าให้ที่ทำการไปรษณีย์กว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศมีบริการไวไฟให้บริการด้วยเช่นกัน

“สิ่งสำคัญของไปรษณีย์ไทยขณะนี้คือการปรับระบบไอทีทั้งหมดให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพ เพราะระบบไอทีถือเป็นหัวใจสำคัญเช่นกันที่จะเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ, โลจิสติกส์, การเชื่อมโยงกับไปรษณีย์เพื่อนบ้าน แต่ปัจจุบันระบบไอทียังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น บอร์ดและฝ่ายบริหารจะต้องเร่งปรับปรุงให้ดีมีประสิทธิภาพ”

ปรับบทบาทกระจายสินค้าโอทอป

นอกจากนี้ ไปรษณีย์จะช่วยกระจายสินค้าเกษตร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญมากเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและช่วยลดพ่อค้าคนกลางในการกดราคาสินค้า โดยในส่วนของไปรษณีย์ก็จะช่วยจำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาลต่างๆ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง เป็นต้น หรือเมนูอาหารอร่อยทั่วไทยสั่งได้ที่ไปรษณีย์ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น อีกทั้งจะช่วยขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) อีกทางหนึ่งด้วย

นายเอนกกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากว่ามีการส่งจดหมายผิดบ้าน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการชำระหนี้ โดยเฉพาะเรื่องบัตรเครดิต ซึ่งบอร์ดได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารไปเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยยอมรับว่าสาเหตุหนึ่งที่การส่งจดหมายผิดบ้านหรือไม่ตรงตามที่อยู่นั้น เป็นเพราะมีการจ้างพนักงานรายวันช่วยส่งจดหมาย เนื่องจากบุรุษ ไปรษณีย์ไทยส่วนใหญ่อายุมากใกล้เกษียณอายุ

“วิธีการที่จะแก้ไขปัญหานั้น ได้เสนอแนะการฝึกบุคลากรให้มีจิตสำนึกในการส่งจดหมายให้เหมือนบุรุษไปรษณีย์รุ่นก่อนๆ ขณะที่โรงเรียนการไปรษณีย์ก็จะขยายสาขาการเรียนด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายบริการของไปรษณีย์ จากปัจจุบัน เด็กที่เรียนจบจากโรงเรียนไปรษณีย์ มุ่งเน้นการทำงานในที่ทำการไปรษณีย์เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ต้องกำหนดหลักสูตรให้หลากหลายสอดคล้องกับภารกิจของไปรษณีย์ไทย

กลไกหลักปล่อยสินเชื่อชุมชน

สำหรับบริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย จำกัดนั้น ปล่อยสินเชื่อให้ชุมชนรากหญ้าที่เข้าไปไม่ถึงแหล่งทุนนั้น ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบให้ยุติการดำเนินการดังกล่าว และทำเรื่องเสนอไปยังกระทรวงการคลังเพื่อขอยกเลิก เนื่องจากเห็นว่ามีความซ้ำซ้อนกับธนาคารที่ได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้กับรากหญ้าไปแล้ว ขณะเดียวกัน ขอเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งบริษัทโลจิสติกส์ ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อเดินหน้าธุรกิจโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า น่าจะมีความชัดเจน

สำหรับการจัดตั้งบริษัท โลจิสติกส์ ไปรษณีย์ไทย น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไปรษณีย์ไทย กล่าวว่า ในปี 2555 ได้กำหนดเป้าหมายว่าจะมีรายได้รวม 17,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 850 ล้านบาท โดยเป็นการพัฒนาการให้บริการและเจาะตลาดทุกรูปแบบเพื่อสร้างรายได้ ขณะเดียวกันก็ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่สร้างมูลค่า ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินรวม 18,500 ล้านบาท มีที่ทำการไปรษณีย์ 1,300 แห่งทั่วประเทศ มีพนักงานทั้งหมด 22,000 คน

ทั้งนี้ ไปรษณีย์ได้ฝึกให้พนักงานทุกคนแสดงศักยภาพในการทำงานให้มากที่สุด เพราะถือเป็นบุคลากรที่คุณภาพที่จะช่วยสร้างรายได้และทำให้องค์กรแข็งแกร่ง และพร้อมที่จะแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรี โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และการร่วมเป็นพันธมิตรกับการไปรษณีย์ต่างประเทศ.



วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เอกชนจีนเล็งกว้านซื้อที่สองแควรับเออีซี


นายสัญชัย ฐิติปุญญา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พิษณุโลก กล่าวถึงการเชิญนายวิชัย วิทยฐานกรณ์ คณะอนุกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ยูนนานและจีนตอนใต้ มาให้ความรู้กับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ จ.พิษณุโลก เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อต้องการกระตุ้นเตือนผู้ประกอบการนักธุรกิจ และสถานศึกษาเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) ว่าเราจะเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งขายเพื่อรับผลประโยชน์ การเตรียมตัวเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันโดยเฉพาะประเทศจีน จะมีการผลักดันคนเป็นล้านคนให้ออกมากว้านซื้อที่ดินในประเทศไทยหลายจุดโดยเฉพาะ จ.พิษณุโลก โดยอาจมาซื้อในรูปของเอกชนนักลงทุนจากจีน หรือเป็นนอมินี ซื้อที่ดิน เพื่อรับผลประโยชน์ตั้งธุรกิจในประเทศไทยแล้ว จึงต้องการให้เวทีการหารือครั้งนี้สะท้อนปัญหาให้ภาครัฐช่วยหามาตรการป้องกันก่อนที่ดินจะอยู่ในมือของชาวต่างชาติ นอกจากนี้ เรื่องวัตถุดิบ อย่างสมุนไพรไทย ควรมีการอนุรักษ์เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าไทยในอนาคต สิ่งที่น่าเป็นห่วง นอกจากปริมาณคนจากหลากหลายประเทศจะเข้ามาได้อย่างเสรีแล้วสินค้ามากมายราคาถูกกว่าของไทย
นายวิชัยกล่าวว่า ด้วยจำนวนประชากรจีนที่มีมากกว่า 1.3 พันล้านคน พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลก มีสภาพการแข่งขันที่สูง มีการใช้เงินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อธุรกิจและผลประโยชน์ จึงน่าวิตกว่าคนไทยไม่เตรียมตัวทำอะไรในอนาคตหรือยัง ไม่เช่นนั้นเราจะเป็นเพียงลูกจ้างในการผลิตแต่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจเลย

เออีซี กระทรวงการคลังเร่งขยายด่านชายเเดน


กระทรวงการคลังเร่งพัฒนาปรับปรุงด่านชายแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะด่านสะเดา จ.สงขลา ที่มีมูลค่าการส่งออกและนำเข้ากว่า 300,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตรวจการปฏิบัติงานด่านศุลกากรสะเดา เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ รองรับการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยในแต่ละปีด่านสะเดามีมูลค่าการนำเข้า -ส่งออก ประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือ 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมด
สำหรับการพัฒนา ในระยะสั้นจะเร่งเพิ่มจุดตรวจเอกสารนักท่องเที่ยว ขยายถนนและสร้างมอเตอร์เวย์ เพื่อลดการจราจรที่ติดขัด ขณะที่ระยะต่อไปจะก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
นอกจากนี้นายกิตติรัตน์ยังได้ติดตามโครงการด่านศุลกากรบ้านประกอบ จังหวัดสงขลา ส่วนขยายระยะที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ทั้ง 9 จุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการค้าการลงทุน ก่อนที่ไทยจะเข้าสู่การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า
รองนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่าการดำเนินงานยังมีปัญหาความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง และค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการเวนคืนที่ดิน ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านบางส่วนไม่ยอมเจรจา บางส่วนยังติดปัญหาด้านกฎหมาย และการปฏิบัติตามระบบราชการเดิม จึงต้องเร่งทำความเข้าใจให้ทุกส่วนราชการบูรณากาทำงานร่วมกัน โดยจะเร่งหารือกับกระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ และย้ำว่าการดำเนินการต่าง ๆ จะให้มีความเป็นธรรม

รับ AEC นักลงทุนไทย-มาเลเซีย เล็งตลาดอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ที่อยู่ศูนย์กลางของอาเซียน จึงเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดใจนักลงทุนชาวต่างประเทศเข้ามาหาโอกาสในการทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสใหม่ๆ ในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุดกลุ่มนักลงทุนชาวมาเลเซีย ให้ความสนใจเข้ามาจับมือกับนักลงทุนชาวไทย เพื่อลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
          นายทนงศักดิ์ หุตานุวัตร ประธานบริษัท เออีซี พร๊อตเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด เปิดเผยว่า “โชว์ ดีซี คอร์ป เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนชาวไทยและชาวมาเลเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาค โชว์ ดีซี คอร์ป มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน โดยโครงการแรกที่เริ่มในประเทศไทย คือ โครงการ SHOW DC ซึ่งเป็นศูนย์การกระจายสินค้ารูปแบบใหม่ ครบวงจรธุรกิจ ใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดที่จะตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์และความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันและระบบเศรษฐกิจเสรี ในปี 2558”
          นายสมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล ผู้ก่อตั้งบริษัท ธิงค์เวิร์ค จำกัด และกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีก ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ SHOW DC ว่า “เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นับเป็นความท้าทายและเป็นโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ สื่อดิจิตอล อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะเป็นเกมกลยุทธ์ที่ธุรกิจต่างๆ นำมาใช้เพื่อจัดการพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไป สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ไทย ที่จะขยายธุรกิจต่อไป จะได้เปรียบในการแข่งขัน ต่อเมื่อ มีการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ที่ดี เพราะจะช่วยให้ลดต้นทุนดำเนินการได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ “SHOW DC” เป็นศูนย์กระจายสินค้ารูปแบบใหม่แห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ศูนย์กระจายสินค้า รูปแบบใหม่ ครบวงจรทุกธุรกิจ ประกอบด้วย ศูนย์ค้าปลีก ศูนย์ค้าส่ง ศูนย์บริการ ศูนย์โชว์รูม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์โลจิสติคส์ คลังจัดเก็บและจัดส่งสินค้า รองรับทุกระดับการค้าขายในกลุ่มธุรกิจ แฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ไอที เครื่องเสียงเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และครัวกลางสำหรับธุรกิจอาหารและภัตตาคาร ที่พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้พื้นที่ตามจุดประสงค์ การดำเนินงานที่แตกต่างเฉพาะตัวได้ ช่วยบริหารต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน (value chain) ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการไทย พร้อมรับการเปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมั่นใจ”
          จุดเด่นของศูนย์กระจายสินค้า SHOW DC อยู่ที่ทำเลที่ตั้ง เพราะใกล้กับทางด่วนพระราม 9 และ RCA การจราจรสะดวก โครงสร้างอาคารมีการวางระบบต้านทานแรงแผ่นดินไหว ซึ่งออกแบบโดย Dr. H.K. Miyamoto จากสหรัฐอเมริกา อาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้ง Solar Farm รับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีระบบป้องกันอัคคีภัย และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ระบบการสื่อสารความเร็วสูงด้วยสายสัญญาณความเร็วสูงไฟเบอร์ออพติก (Fiber Optic) ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สนับสนุนการทำตลาดดิจิตอลทุกรูปแบบ มีที่จอดรถจำนวน 1,200 คัน (บริเวณชั้นใต้ดินและชั้น 1) รวมทั้งมีพื้นที่รองรับรถขนส่งสินค้าหลากหลายขนาด
          ภายในศูนย์กระจายสินค้า SHOW DC มีพื้นที่ร้านค้าตั้งแต่ 40 – 4,000ตารางเมตร เพื่อรองรับการประกอบกิจการครบวงจร เพื่อโอกาสการสร้างเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ อาทิเช่น เพื่อประกอบกิจการธุรกิจครบวงจร อาทิเช่น ศูนย์กระจายสินค้า ค้าปลีก ค้าส่ง โชว์รูม บริการซ่อมบำรุง ครัวกลางนิทรรศการแสดงสินค้า โลจิสติกส์ ห้องเย็น ศูนย์วิจัยและพัฒนา ทั้งยังประกอบด้วยพื้นที่ศูนย์อาหาร ศูนย์ประชุม ศูนย์ธุรกิจ และห้องประชุมสัมมนา
          “ผลจากการเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ (Soft launch) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่าน พบว่าศูนย์กระจายสินค้า SHOW DC ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการธุรกิจเกินความคาดหมาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ประกอบด้วยผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง ผู้ประกอบการร้านอาหาร ธุรกิจออนไลน์ ผู้ประกอบการที่ออกงานแสดงสินค้า และบริษัทที่ให้บริการด้านการขนส่ง เนื่องจากโครงการ SHOW DC สามารถรองรับการดำเนินงานของผู้เช่าใน 6 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ไอทีและการสื่อสาร สินค้าของตกแต่งบ้าน ธุรกิจทั่วไป ครัวกลาง (Central Kitchen) จึงมีความมั่นใจว่าจะมียอดขายเช่าพื้นที่ถึง 90% เพื่อเปิดโครงการ ต้นปี 2557” นายสมคิด กล่าวเสริม
          โครงการ SHOW DC ศูนย์กระจายสินค้ารูปแบบใหม่ ครบวงจรธุรกิจ ที่พัฒนาโดยบริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท และออกแบบโดย บริษัท คอนทัวร์ จำกัด จะเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายนปี 2555 คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ราคาเซ้งเริ่มต้นที่ 55,000 - 75,000 บาทต่อตารางเมตร สำหรับอายุสัญญา 28 ปี โดยมีค่าบริการรายเดือนเริ่มตั้งแต่ 50-150 บาทต่อตารางเมตร

"เต็ง เส่ง"เยือนไทยได้ประโยชน์ทาง ศก.- ห่วงเสียเปรียบ AEC


นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง เปิดเผยกรณี พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เดินทางเยือนประเทศไทย โดยมองว่า ประเทศพม่าถือเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เป็น 1 ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่น่าสนใจ โดยจะส่งผลให้มิติทางเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยง ทั้งสินค้า การลงทุน แรงงาน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคระหว่างไทยกับพม่า และขยายไปยังเพื่อนบ้านอื่นๆ
ทั้งนี้ นายสมชายกล่าวว่า การเยือนประเทศไทยของผู้นำพม่าครั้งนี้ มองว่าจะมีโอกาสเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่นิ่งนั้น มองว่าเรื่องของเสถียรภาพในแง่ของนโยบายต้องมี ไม่ว่ารัฐบาลใดบริหารบ้านเมือง และสิ่งแรกที่ต้องทำอยู่แล้วคือ การร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเออีซี ที่ตอนนี้มาถึงแล้ว และปี 2015 การแข่งขันจะแน่นขึ้น หากรัฐบาลไม่ทำประเทศอาจจะเสียเปรียบได้ ส่วนภาคเอกชนจะเป็นผู้สานต่อว่า จะเตรียมตัวรองรับการมาของเออีซีอย่างไร

กรอบระยะเวลาการเปิดเสรีสินค้าและบริการของประเทศสมาชิกอาเซียน


สำหรับการเป็น AEC ในส่วนของภาคการเงินนั้น กำหนดระยะเวลาไว้ภายในปี  2020  ซึ่งจะล่าช้ากว่าภาคการค้าอื่นๆ ประมาณ 5 ปี  ทำให้สถาบันการเงินในประเทศยังมีเวลาในการปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น  
แวดวงคนการเงิน  มองถึงการเปิดเสรีภาคการเงินที่แตกต่างกัน   โดยในส่วนของผู้ประกอบการ  หรือนายบัณฑูร  ล่ำซำ    ซีอีโอแบงก์กสิกร ไทย มองว่า ภาคการเงิน ได้เตรียมความพร้อมรับเออีซีแตกต่างกันไป แต่คงไม่ใช่การขยายสาขาที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย เพราะแต่ละธนาคารมีเงินทุนและบุคลากรที่จำกัด บางแห่งก็ขยายสาขาไปในต่างปะเทศแล้ว ขณะที่บางธนาคารเพิ่งเริ่มขยายสาขา  
ขณะที่บางคนมองว่า  ภาคการเงินไทยยังมีการปรับตัว เพื่อรองรับการเป็น AEC ที่ล่าช้า  เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังเน้นการทำธุรกิจภายในประเทศ โดยไม่สนใจที่จะขยายเครือข่ายหรือเจาะกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศ โดยต้องยอมรับว่าการเจาะกลุ่มลูกค้าของธนาคารต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย  คงไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก   จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์หรือ Connection อย่างแน่นแฟ้น ของธนาคารกับลูกค้าที่มีมานานหลายชั่วอายุคน 
ทั้งนี้ ความล่าช้าในการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศของภาคการเงินของไทย บริษัทหลักทรัพย์  ซีไอเอ็มบีไทย  วิเคราะห์ว่า อาจมาจากเรื่องเงินทุน เพราะธนาคารที่เข้าไปซื้อกิจการในธนาคารต่างๆนั้น  ส่วนใหญ่จะมีรัฐบาลเป็นผู้ซื้อหุ้น ทำให้มีเงินทุนมากเพียงพอในการขยายธุรกิจ  ขณะที่การเข้าถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลไทย จะเน้นแก้ปัญหาของธนาคารนั้นๆ มากกว่าการเข้าลงทุน  รวมทั้งระบบการจัดการและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญในการวางกลยุทธ์  หรือยุทธ์ศาสตร์การทำธุรกิจในอนาคต 
ซึ่งไม่ว่าภาคการเงินการธนาคารจะเปิดเสรีในปี 2015 หรือ 2020  แต่ผู้ประกอบการไทยก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมงัดกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการขยายุรกิจในต่างประเทศ เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เชียงแสนตื่นตัว รับ AEC

อ.เชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ตื่นตัววางกรอบอุตสาหกรรมท้องถิ่นเติบโตรับมือเปิดประชาคมอาเซียน ยก “หลวงพระบาง” เป็นแม่แบบด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สู่ความยั่งยืน นายประจวบ กันธิยะ นายอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย กล่าวว่า พื้นที่ อ.เชียงแสน ถือเป็นพื้นที่สำคัญด้านการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ที่เป็นชายแดนเชื่อมต่อกัน 3ประเทศระหว่างไทย พม่า และสปป.ลาว ดังนั้น ทางอำเภอพยายามเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อรับเปิดประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อ.เชียงแสน จะคึกคักอย่างยิ่ง จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มเป็นทวีคูณจากปัจจุบัน มีอัตราเฉลี่ยประมาณ 2แสนคนต่อปี รวมถึง จะมีกลุ่มผู้ประกอบการจากทั้งใน และต่างประเทศ มาลงทุนก่อสร้างโรงแรมที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้ การเปิดประชาคมอาเซียน แม้ข้อดีจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโตอย่างสูง ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่คนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ทางอำเภอเกรงว่าจะเป็นไปอย่างไร้ทิศทางจนควบคุมไม่ได้ กระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมในชุมชน ดังนั้น ได้มีการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักธุรกิจเอกชน ภาคราชการ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ชาวเชียงแสนได้มีบทบาทในการวางกรอบการท่องเที่ยวของท้อง ถิ่นตัวเอง สำหรับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของอำเภอเชียงแสนจะมุ่งเป็นเชิงอนุรักษ์ โดยมี “หลวงพระบาง” ของ สปป.ลาว เป็นต้นแบบที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จนได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก นอกจากนั้น ทางอำเภอได้เตรียมรับพร้อมเปิดประชาคมอาเซียนในหลายด้าน เช่น จัดตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอำเภอเชียงแสน กำหนดจุดผ่านแดนให้เหลือด่านเดียว จากปัจจุบันมี 11 จุด ป้องกันปัญหาลักลอบขนยาเสพติด รวมถึง มีโครงการอาสาสมัครชุมชน คอยเป็นหูเป็นตาให้ภาครัฐ เป็นต้น

เชียงรายคึกรับเออีซี หมอชื่อดังทุ่ม 100 ล้านผุดโรงแรม


เชียงราย - เตรียมรับตลาดท่องเที่ยวเออีซีบวกจีนบูม หมอชื่อดังเมืองเชียงรายทุ่มทุนนับ 100 ล้านขยายธุรกิจโรงแรม พร้อมเปิดห้องจัดคอร์สสอนภาษากลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้บุคลากรใน สังกัด เพิ่มศักยภาพดึงดูดลูกค้าในอนาคต
      
       ท่ามกลางกระแสเออีซีที่กำลังบูมขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจท้องถิ่นของเชียงรายที่ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในเมืองหน้าด่านที่สำคัญของภาคเหนือกับเพื่อนบ้าน เริ่มเคลื่อนไหวรองรับธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นตามมาเช่นกัน โดยล่าสุดนายแพทย์วัชระ เตชะธีราวัฒน์ แพทย์ประจำโรงพยาบาล ได้หันมาลงทุนขยายกิจการโรงแรม ในนามบริษัทลักษวรรณ จำกัด เปิดโรงแรมใหม่ “ลักษวรรณ รีสอร์ท เชียงราย” ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย
      
       นายแพทย์วัชระบอกว่า เดิมประกอบวิชาชีพแพทย์ และจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงได้ขยายเป็นธุรกิจที่พักให้ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ ชุมชนสันโค้ง อ.เมือง จ.เชียงราย ชื่อโรงแรมมณีอินทร์ มีขนาดประมาณ 30 ห้อง กระทั่งเห็นว่ากิจการน่าจะมีอนาคต และเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเออีซีในอนาคต ดังนั้นจึงได้ขยายไปเปิดโรงแรมลักษวรรณ รีสอร์ท เชียงราย บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ในวงเงินลงทุนรวมราว 100 ล้านบาท โดยช่วงแรกๆ มีเพียง 36 ห้อง ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 99 ห้องแล้ว
      
       นายแพทย์วัชระกล่าวว่า ในอนาคตแม้ไทยจะเข้าสู่เออีซีผู้ ประกอบการก็ต้องปรับตัว เพราะสถานการณ์การท่องเที่ยวของเชียงรายมักจะมีผู้เข้าพักมากช่วงฤดูหนาว หรือไฮซีซัน ปีละ 3-4 เดือน ส่วนช่วงเวลาที่เหลือจะซบเซา ดังนั้นจึงได้มีการปรับตัวและพัฒนาองค์กรยกใหญ่เพื่อพึ่งพาตัวเองให้ได้ โดยปัจจุบันหันมาประสานตลาดด้านการจัดงานสัมมนา โดยจัดห้องสัมมนาเอาไว้ 3 ห้องใหญ่ มีศักยภาพรองรับผู้เข้าร่วมได้จำนวน 600 คน
      
       รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของบุคลากรองค์กรซึ่งเป็นพนักงานในจำนวน 42 คน และสามารถเรียกใช้พนักงานภายนอกเพิ่มเติมได้ แต่ละคนมีการฝึกให้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาในเออีซี เช่น ภาษาพม่า ฯลฯ เป็นคอร์ดสั้นๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
      
       สำหรับช่วงโลว์ซีซันก็หันไปให้บริการภาครัฐและเอกชนในการใช้บริการ ห้องประชุมสัมมนามากขึ้น เพื่อชดเชยการเข้าพักของนักท่องเที่ยวที่เบาบางลงได้เป็นอย่างดี โดยโรงแรมใช้วิธีให้ผู้จัดสัมมนาแจ้งงบประมาณเพื่อที่ทางโรงแรมจะได้สามารถ จัดการประชุมให้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้จัดสัมมนามีทางเลือกได้หลากหลาย
      
       ขณะที่ห้องพักก็จัดให้พักในราคาประหยัด 750-1,800 บาท ซึ่งราคา 750 บาทต่อห้องต่อคืนนั้นถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเมืองเชียงรายที่มีอายุครบ 750 ปีด้วย
      
       ทั้งนี้ ในช่วงโลว์ซีซันนี้พบว่าห้องพักทั่วภาคเหนือมียอดเฉลี่ยเข้าพักไม่ถึง 50% ส่วนของโรงแรมเราก็มีอัตราเฉลี่ยราวๆ 40% แต่เมื่อถึงไฮซีซันก็คาดว่าจะอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านๆ มาคือประมาณ 70% ขึ้นไป
      
       “คาดว่าเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 จะมีผู้คนเดินทางมาเชียงรายมากขึ้น เพราะเรามีด่านพรมแดนหลายแห่ง รวมทั้งยังเป็นจุดเชื่อมอาเซียนบวกจีนอีกด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนลงมามากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอยากให้มีการจัดระเบียบการ เปิดกิจการห้องพักให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ธุรกิจประเภทนี้ไปอยู่รวมกันที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไปจนต้องตัด ราคากันเอง เหมือนกับต่างประเทศเคยเห็นทำกันมาแล้ว ไม่เช่นนั้นจะเกิดการแออัดในอนาคต” นายแพทย์วัชระ กล่าว


ขอบคุณ : thaiday.com