วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรอบระยะเวลาการเปิดเสรีสินค้าและบริการของประเทศสมาชิกอาเซียน


สำหรับการเป็น AEC ในส่วนของภาคการเงินนั้น กำหนดระยะเวลาไว้ภายในปี  2020  ซึ่งจะล่าช้ากว่าภาคการค้าอื่นๆ ประมาณ 5 ปี  ทำให้สถาบันการเงินในประเทศยังมีเวลาในการปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น  
แวดวงคนการเงิน  มองถึงการเปิดเสรีภาคการเงินที่แตกต่างกัน   โดยในส่วนของผู้ประกอบการ  หรือนายบัณฑูร  ล่ำซำ    ซีอีโอแบงก์กสิกร ไทย มองว่า ภาคการเงิน ได้เตรียมความพร้อมรับเออีซีแตกต่างกันไป แต่คงไม่ใช่การขยายสาขาที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย เพราะแต่ละธนาคารมีเงินทุนและบุคลากรที่จำกัด บางแห่งก็ขยายสาขาไปในต่างปะเทศแล้ว ขณะที่บางธนาคารเพิ่งเริ่มขยายสาขา  
ขณะที่บางคนมองว่า  ภาคการเงินไทยยังมีการปรับตัว เพื่อรองรับการเป็น AEC ที่ล่าช้า  เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังเน้นการทำธุรกิจภายในประเทศ โดยไม่สนใจที่จะขยายเครือข่ายหรือเจาะกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศ โดยต้องยอมรับว่าการเจาะกลุ่มลูกค้าของธนาคารต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย  คงไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก   จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์หรือ Connection อย่างแน่นแฟ้น ของธนาคารกับลูกค้าที่มีมานานหลายชั่วอายุคน 
ทั้งนี้ ความล่าช้าในการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศของภาคการเงินของไทย บริษัทหลักทรัพย์  ซีไอเอ็มบีไทย  วิเคราะห์ว่า อาจมาจากเรื่องเงินทุน เพราะธนาคารที่เข้าไปซื้อกิจการในธนาคารต่างๆนั้น  ส่วนใหญ่จะมีรัฐบาลเป็นผู้ซื้อหุ้น ทำให้มีเงินทุนมากเพียงพอในการขยายธุรกิจ  ขณะที่การเข้าถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลไทย จะเน้นแก้ปัญหาของธนาคารนั้นๆ มากกว่าการเข้าลงทุน  รวมทั้งระบบการจัดการและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญในการวางกลยุทธ์  หรือยุทธ์ศาสตร์การทำธุรกิจในอนาคต 
ซึ่งไม่ว่าภาคการเงินการธนาคารจะเปิดเสรีในปี 2015 หรือ 2020  แต่ผู้ประกอบการไทยก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมงัดกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการขยายุรกิจในต่างประเทศ เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จะมีผลกระทบกับเรามากมั๊ยเนี้ย